【101 สล็อต】"โมเดลเกาะเต่า"แก้ปัญหาขยะล้นเกาะ | เดลินิวส์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าแหล่งท่องเที่ยวท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ การจัดการขยะมีข้อจำกัด ดังนั้นจึงต้องใช้องค์ความรู้และการบริหารการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในงาน SX Expo 2024 ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะบนเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เกาะะที่ได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักดำน้ำ ผ่านการทำงานของเครือข่ายเกาะยั่งยืนประเทศไทยและพันธมิตร

โมเดลเกาะเต่าquotแก้ปัญหาขยะล้นเกาะเดลินิวส์

รัฎดา ลาภหนุน ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายเกาะยั่งยืนประเทศไทย ได้กล่าวถึงความท้าทายในการจัดการขยะบนเกาะเต่าว่า เกาะเต่ามีประชากรอยู่อาศัย 2,500 คน แต่มีประชากรแฝงรวมถึงแรงงานต่างด้าวเกือบหมื่นคน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 6-7 แสนคนต่อปี โดยมีปริมาณขยะ 15-20 ตันต่อวัน ขณะที่มีพื้นที่ฝังกลบขยะเพียง 4 ไร่ และลักษณะภูมิประเทศที่ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน ทำให้การขุดเพื่อฝังกลบขยะอย่างถูกต้องทำได้อย่างมีข้อจำกัด ทำให้เราต้องหาวิธีในการลดปริมาณขยะที่จะถูกทิ้งลงหลุมฝังกลบ ดังนั้น จึงเกิดการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน อินโดรามา เวนเจอร์ส และ Ogga Circular ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างระบบการจัดการขยะที่ยั่งยืน การที่ชุมชนได้เห็นภาพชัดเจนว่าขยะที่พวกเขาเก็บไปกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างไร ทำให้เกิดแรงจูงใจที่มากขึ้นในการเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ และการสร้างแรงจูงใจนี้เองที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้โครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

โมเดลเกาะเต่าquotแก้ปัญหาขยะล้นเกาะเดลินิวส์

นวีนสุดา กระบวนรัตน์ รองประธานร่วมฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการรีไซเคิล PET ระดับโลก ได้กล่าวถึงความสำคัญของการรีไซเคิลขวด PET ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกในระยะยาว เธอกล่าวว่า อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้มีโอกาสเข้าไปช่วยในการรับขวดพลาสติก PET ที่ผ่านการคัดแยกแล้วมาจากเกาะเต่า ซึ่งขวดเหล่านี้จะถูกขนส่งไปที่โรงงานรีไซเคิลของบริษัทฯ ที่จังหวัดนครปฐม เพื่อผ่านกระบวนการรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET) และสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์เส้นด้ายเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นสิ่งทอในครัวเรือน สิ่งทอในอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือแม้แต่การผลิตของพรีเมี่ยม ดังเช่น ผลิตภัณฑ์จาก OGGA เป็นต้น  โดยอินโดรามา เวนเจอร์ส ตั้งเป้ารับซื้อขวด PET จากเกาะเต่าให้ได้เดือนละ 5 ตัน โดยรับมาแล้ว 10 ตัน (ณ เดือนกันยายน 2567) ทั้งนี้ การส่งเสริมการเก็บรวบรวมขวด PET ที่ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและความร่วมมือระหว่างกันของทุกภาคส่วนเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนนี้เกิดขึ้นได้จริง

โมเดลเกาะเต่าquotแก้ปัญหาขยะล้นเกาะเดลินิวส์

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของอินโดรามา เวนเจอร์ส คือ การรีไซเคิลขวด PET ให้ได้ถึง 50,000 ล้านขวดต่อปีภายในปี 2573  และส่งมอบความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการรีไซเคิล PET ผ่านหลักสูตร recycling education ของบริษัทฯ ให้เข้าถึงผู้บริโภค 1 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2573 นวีนสุดา ได้เน้นย้ำในงานเสวนาที่ SX  ว่า การรีไซเคิล PET ไม่เพียงแต่ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก แต่ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกระบวนการผลิตพลาสติกใหม่ บริษัทฯ ได้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิลและลดปริมาณขยะที่ถูกทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกระบวนการรีไซเคิลเพื่อสร้างผลลัพธ์เชิงบวกทางสังคมให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะการสร้างรายได้เสริมจากมูลค่าขยะรีไซเคิล

โมเดลเกาะเต่าquotแก้ปัญหาขยะล้นเกาะเดลินิวส์

ธีรยาฏ์ วิทย์วัฒน์ดำรง ผู้ร่วมก่อตั้ง OGGA  Circular  ได้เล่าถึงโครงการ  Recycling with Koh Tao ว่า การรีไซเคิลเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เราจึงมุ่งเน้นการ Upcycling ขยะให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยขยะ PET ที่เก็บจากเกาะเต่าถูกนำมาแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล/เส้นใยโพลีเอสเตอร์ เพื่อนำมาผลิตเป็นของพรีเมียม เช่น กระเป๋าในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยลดปริมาณขยะ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะพลาสติกไม่เพียงแค่ช่วยแก้ปัญหาขยะบนเกาะเต่า แต่ยังเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและเป็นที่ต้องการในตลาดอีกด้วย

โมเดลเกาะเต่าquotแก้ปัญหาขยะล้นเกาะเดลินิวส์

นอกจากนี้ ธีรยาฏ์ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำให้ชุมชนเข้าใจว่า ขยะมีคุณค่า ถ้าเราให้ความรู้และช่วยสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ ชุมชนก็สามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าได้ โดยเรามุ่งเน้นการให้ความรู้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และกระบวนการ Upcycling ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เพียงแต่ช่วยลดขยะ แต่ยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งการมีส่วนร่วมของชุมชนในลักษณะนี้ยังช่วยสร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกให้กับผู้คนในเรื่องการจัดการขยะที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เราอยากศึกษาข้อมูลและทำให้เกาะเต่าเป็นโมเดลหลักในการเรียนรู้เรื่องจัดการขยะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขยะพลาสติก ขยะกำพร้า

โมเดลเกาะเต่าquotแก้ปัญหาขยะล้นเกาะเดลินิวส์

ทำอย่างไรให้เกาะเต่า ที่จากเดิมคัดแยกขยะได้แค่ 20% ไปรีไซเคิล ให้เพิ่มขึ้นถึง 40% ได้ภายในปีนี้ มันจะได้ขยายผลไปที่เกาะอื่นๆ จากเกาะแล้วจะไปที่ชายฝั่ง แล้วค่อยไปพื้นที่หลักต่างๆ” ธีรยาฏ์ ทิ้งคำถามให้ทุกคนช่วยกันคิด

โมเดลเกาะเต่าquotแก้ปัญหาขยะล้นเกาะเดลินิวส์