【slot joker123】วิจัยชี้! โปรตีนทางเลือก คือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทย ย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนราย | เดลินิวส์

งานวิจัยล่าสุดจาก ‘Madre Brava’ และ ‘Asia Research and Engagement’ เปิดเผยว่า การเผาเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาตอซังข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์ กำลังกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศอย่าง PM2.5 ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทยกว่า 34,000 รายต่อปี และตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้นเป็น 361,000 รายภายในปี 2593 หากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีทางออกที่น่าสนใจสำหรับปัญหาข้างต้น นั่นคือการส่งเสริมให้ประเทศไทยหันมาให้ความสำคัญกับโปรตีนทางเลือก โดยเฉพาะโปรตีนจากพืช ซึ่งอาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้มากถึง 100,000 รายภายในปีเดียวกัน

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

การผลิตเนื้อสัตว์และฝุ่น PM2.5

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

‘วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์’ ผู้อำนวยการ Madre Brava กล่าวว่า วิจัยฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมปศุสัตว์และปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยหนึ่งในแหล่งกำเนิดสำคัญคือการเผาตอซังข้าวโพด ซึ่งเป็นกระบวนการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์ และปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากสภาพอากาศเอื้อต่อการสะสมของมลพิษ ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน และภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาทำให้ฝุ่นกระจายตัวได้ยาก นอกจากนี้การเผาตอซังข้าวโพดในประเทศเพื่อนบ้านยังส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 ลอยข้ามพรมแดนเข้ามายังประเทศไทยอีกด้วย

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

“ผลกระทบจากการเผาตอซังข้าวโพดทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 12,000 รายต่อปี ในช่วงปี 2563-2593 ซึ่งตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในปี 2564” วิชญะภัทร์ กล่าว

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

พร้อมเสนอว่า ประเทศไทยควรตั้งเป้าลดการพึ่งพาโปรตีนจากสัตว์ และหันมาเพิ่มสัดส่วนโปรตีนจากพืชให้ได้ถึง 50% ภายในปี 2593 ซึ่งจะช่วยลดความต้องการข้าวโพดสำหรับอาหารสัตว์ และลดการเผาตอซังลงได้เป็นอย่างมาก

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

แนวทางสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

Madre Brava เสนอแนวทางที่ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถร่วมมือกันผลักดันได้ โดยภาครัฐควรออกมาตรการจูงใจทางการเงินเพื่อให้โปรตีนจากพืชมีราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมการบริโภคในหน่วยงานภาครัฐ โรงเรียน และโรงพยาบาล ส่วนภาคธุรกิจสามารถมีบทบาทในการกำหนดเป้าหมายเพิ่มยอดขายโปรตีนจากพืช ลดราคาสินค้า และให้ข้อมูลด้านโภชนาการที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

หากประเทศไทยสามารถลดการผลิตเนื้อสัตว์และเพิ่มสัดส่วนโปรตีนจากพืชได้ถึง 50% จะช่วยลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจาก PM2.5 ได้กว่า 100,000 รายภายในปี 2050 และยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 1.3 ล้านล้านบาท พร้อมทั้งเพิ่มตำแหน่งงานกว่า 1.15 ล้านตำแหน่ง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 35.5 ล้านเมตริกตันต่อปี

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

ลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

ปัญหาการเผาตอซังข้าวโพดในภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นประเด็นที่น่ากังวล แม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามเผาออกมาบังคับใช้แล้วก็ตาม แต่ประสิทธิภาพในการควบคุมยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ส่งผลให้ในบางช่วงเวลา เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

‘สุรีรัตน์ ตรีมรรคา’ รองประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยมองว่าการลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นสิ่งจำเป็น แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การทำการเกษตรแบบยั่งยืนได้

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

“เราต้องให้อำนาจท้องถิ่นในการจัดการปัญหาการเผาไฟ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อควบคุมการเผาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” สุรีรัตน์ กล่าว

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์

โดยสรุปแล้ว การส่งเสริมโปรตีนทางเลือกไม่ได้เป็นเพียงแนวทางลด PM2.5 เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับประเทศไทย การเปลี่ยนผ่านไปสู่โปรตีนจากพืชจะช่วยลดการพึ่งพาปศุสัตว์ ลดมลพิษ เพิ่มตำแหน่งงาน และสร้างสังคมที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หากรัฐ-เอกชนให้การสนับสนุนและดำเนินการอย่างจริงจัง ประเทศไทยอาจมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการผลิตโปรตีนจากพืชในภูมิภาคได้

วิจัยชี้โปรตีนทางเลือกคือทางรอดวิกฤติฝุ่นพิษไทยย้ำอาจเซฟชีวิตกว่าแสนรายเดลินิวส์