【betwin】‘ท่วมเละ!’เหนือยันใต้ ‘ภัยน้ำโลกรวน’ จะแก้จะกัน‘เอาไงดี?’ | เดลินิวส์
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการเกิดภาวะ “โลกร้อน” ก็ก่อเกิด “ภัยน้ำรุนแรง” ในไทยอยู่แล้ว พอโลกร้อนถึงขั้น “โลกรวน” ก็ยิ่งไปกันใหญ่!! และฉายภาพว่า ไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ “ต้องเพิ่มวิธีการ แนวทาง เทคโนโลยี เพื่อรับมือ ป้องกันภัยน้ำ” จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “ยุคโลกรวน”ที่เกิดขึ้น
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์ถามว่า “จะมีวิธี มีแนวทางอย่างไร??”
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์ก็ “น่าลุ้นข้อเสนอที่น่าจะเป็นคำตอบ”
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์โฟกัสกันที่ “ข้อเสนอที่น่าจะเป็นคำตอบ” ดังที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ระบุข้างต้น ข้อมูลข้อเสนอที่ว่านี้มาจากทาง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ซึ่งสำหรับหน่วยงานนี้ จากข้อมูลถึงปี 2567 โดยระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติก็ได้มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยเพื่อรับมือภัยพิบัติ น้ำท่วม และดินถล่ม รวม 42 โครงการ เช่น แนวทางการปรับตัวที่ใช้ระบบนิเวศเป็นฐานเพื่อการลดทอนความเสี่ยงจากอุทกภัย (นางศนิ ลิ้มทองสกุล สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 2564), Fon Faa Arkat : สถานีแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมและสภาพอากาศอย่างแม่นยำด้วย AI สำหรับชุมชน (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ปี 2566) ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถใช้ ประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติ
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์อย่างไรก็ดี ภัยน้ำยุคโลกรวนยิ่งซับซ้อน นโยบายแก้ต้องครอบคลุมตั้งแต่ระดับพื้นที่ถึงระดับชาติ ต้องสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาที่กระทบต่อภูมิภาคและโลก สกสว. จึงได้จัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย และแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่พึงมี ภายใต้สภาวะโลกรวน”โดยสรุปมีดังนี้
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์1.บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยสร้างและบำรุงรักษาระบบการจัดการน้ำเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้มีการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพทุกด้าน เช่น ใช้เทคโนโลยีในการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ใช้ระบบนำน้ำไปใช้ในการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น, 2.สร้างหรือปรับปรุงสิ่งก่อสร้างที่มีความเชื่อถือได้ เช่น สร้างเขื่อนที่มีการวางแผนอย่างเหมาะสม และ สร้างทางระบายน้ำและสร้างช่องระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ เพื่อ
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์“ลดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น” จากน้ำท่วม
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์เพื่อ “ลดภัยน้ำท่วมหนักยุคโลกรวน”
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์3.สร้างพื้นที่สีเขียว เช่น ปลูกป่า สร้างพื้นที่สำหรับการรักษาน้ำ และพื้นที่สำหรับการกักเก็บน้ำฝน เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ทั้งจากภัยน้ำท่วม และภัยน้ำแล้งด้วย, 4.ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยพลังงานทดแทนที่ว่านี้ก็เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ใช้พลังงานลม และใช้พลังงานชีวมวล เพื่อลดการใช้พลังงานที่มีปริมาณการใช้น้ำมาก
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์5.สร้างระบบเตือนภัยและการจัดการวิกฤติการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น สร้างระบบเตือนภัยจากน้ำท่วม ระบบการจัดการวิกฤตการณ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การสร้างฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ในอนาคต, 6.เพิ่มการมองผลกระทบและมาตรการรองรับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ การท่องเที่ยว ทั้ง ในแง่พื้นที่ และในแง่เวลา (สั้น กลาง ยาว) เพื่อลดความเสี่ยง และเพื่อเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน, 7.พิจารณาสมดุลในแต่ละพื้นที่ โดย พิจารณาทั้งในส่วนลุ่มน้ำ รวมถึงข้ามพรมแดน เพื่อที่จะให้เกิดการแก้ไขป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่ยุคโลกรวน, 8.จัดความสำคัญตามผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง โดยนำข้อมูลสภาพภูมิอากาศในอนาคตมาใช้ประเมินผลกระทบ (เริ่มจากโครงการขนาดใหญ่) เพื่อ เตรียมมาตรการรองรับด้วยข้อมูลทั้งในอดีตและในอนาคตประกอบร่วมกัน
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์9.แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างองค์กรอย่างเป็นระบบภายใต้ฉากทัศน์ของการพัฒนาในอนาคต เนื่องเพราะการเปลี่ยนแปลงในอนาคตมีทั้งปัจจัยจากสภาพภูมิอากาศและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ต้อง กำหนดบทบาทของหน่วยงานให้วางแผนแก้ปัญหาทั้งแบบเชิงเดี่ยว และปัญหาที่ต้องบูรณาการร่วมแก้ไขกับหน่วยงานอื่น ไปพร้อมกัน (ทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา) เพื่อให้แก้ไขปัญหาเบ็ดเสร็จร่วมกันได้ดียิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องกำหนดโครงสร้างขององค์กรรองรับ, 10.ปรับตัวทั้งยามปกติและภาวะวิกฤติ เพราะความแปรปรวนของสภาพอากาศรุนแรงมากขึ้น การปรับตัวเพื่อให้เกิดการสมดุลของน้ำต้องใช้มาตรการทั้งด้านโครงสร้าง ด้านอื่น ๆ และการจัดการร่วมกัน โดย การใช้มาตรการร่วมให้สมดุลต้องออกแบบให้เหมาะสมทั้งในยามปกติและภาวะวิกฤติ รวมถึงความเหมาะสมด้านงบประมาณ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์ทั้งนี้ ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” สะท้อนมานี้นี่ก็คือ “10 วิธีการ-แนวทาง” โดยสังเขป จาก “ข้อเสนอเชิงนโยบาย และแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่พึงมี ภายใต้สภาวะโลกรวน” ที่ทาง สกสว. ได้จัดทำขึ้น ซึ่งหลักใหญ่ใจความของข้อเสนอก็ อิงวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยเสนอให้ไทยมีการใช้ “แก้ปัญหาภัยน้ำที่ยิ่งรุนแรงเพราะโลกรวน”
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์ปีนี้ “ไทยน้ำท่วมหนักทั้งเหนือ ทั้งใต้”
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์ปีต่อ ๆ ไป “เสียวไส้ว่าจะยิ่งหนักขึ้น”
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์ภัยน้ำโลกรวน “แก้-กันเดิม ๆ ไม่พอ”.
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์ทีมสกู๊ปเดลินิวส์
ท่วมเละเหนือยันใต้ภัยน้ำโลกรวนจะแก้จะกันเอาไงดีเดลินิวส์