【ชอนบุกฮุนไดมอเตอร์ สด】ยิ่งฉลาด ยิ่งกระหายนํ้า 'AI' ตัวแปรสำคัญ เร่ง ‘วิกฤตินํ้าโลก’ | เดลินิวส์

‘น้ำจืด’ นับว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ทว่าปริมาณน้ำจืดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั้นกลับมีอยู่อย่างจำกัด โดยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดบนโลก มีเพียง 3% เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด และจากสัดส่วนดังกล่าว 2.5% ยังถูกกักเก็บอยู่ในธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ส่งผลให้ปริมาณน้ำจืดที่พร้อมจะนำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และระบบนิเวศลดเหลือเพียง 0.5% ของน้ำทั้งหมดบนโลก

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความต้องการใช้นํ้าก็เพิ่มสูงตามไปด้วย ส่งผลให้ปริมาณนํ้าจืดที่มีอยู่อย่างจำกัดต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก เมื่อความต้องการใช้นํ้าเกินกว่าปริมาณที่มีอยู่เพื่อสนองความต้องการทั้งของมนุษย์และระบบนิเวศ ภาวะขาดแคลนนํ้าจึงเกิดขึ้นตามมา รายงานของโครงการ UN-Water ในปี 2021 ระบุว่า ประชากรโลกประมาณ 10% หรือคิดเป็นจำนวน 720 ล้านคน อาศัยอยู่ในประเทศที่ประสบปัญหาการขาดแคลนนํ้าในระดับสูงและวิกฤติ ภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างมาก

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ระบบ AI ต้องพึ่งทรัพยากรจำนวนมหาศาล

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ปัจจัยเพิ่มเติมอีกประการหนึ่งที่ทำให้วิกฤตินํ้าทวีความรุนแรงขึ้นคือ การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) การทำงานของโมเดล AI ขนาดใหญ่จำเป็นต้องอาศัยศูนย์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมหาศาล การใช้พลังงานในระดับดังกล่าวจะก่อให้เกิดความร้อนจำนวนมากที่ต้องระบายออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเซิร์ฟเวอร์เกิดความเสียหายจากอุณหภูมิที่สูงเกินไป วิธีการระบายความร้อนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น หอคอยระบายความร้อน จำเป็นต้องใช้นํ้าสะอาดและนํ้าจืดในปริมาณมาก ซึ่งยิ่งเป็นการซํ้าเติมสถานการณ์ขาดแคลนนํ้าที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

“ดาต้าเซ็นเตอร์เติบโตอย่างรวดเร็วและพวกมันก็กำลังกระหายนํ้า” 

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ข้อมูลจากศูนย์รักษาความปลอดภัยด้านนํ้า (C4SW) แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การขยายตัวอย่างรวดเร็วของดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งปัจจุบันคาดว่ามีจำนวนกว่า 11,000 แห่งทั่วโลก สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในการใช้ AI ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม การเติบโตดังกล่าวถูกพ่วงมาพร้อมกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่น่ากังวล โดยเฉพาะปัญหาการใช้นํ้าจำนวนมหาศาล

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

แค่ Google ก็ใช้นํ้าถึง 2.1 ล้านลิตรต่อวัน

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

การศึกษาพบว่าศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ อาทิ Google ซึ่งให้บริการหลักอย่าง Gmail และ Google Drive ใช้นํ้าเฉลี่ยสูงถึง 550,000 แกลลอน (ประมาณ 2.1 ล้านลิตร) ต่อวัน ขณะที่ศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กโดยทั่วไปใช้นํ้าน้อยกว่ามาก โดยเฉลี่ยประมาณ 18,000 แกลลอน (ประมาณ 68,100 ลิตร) ต่อวัน เมื่อเทียบกับการใช้นํ้าเฉลี่ยต่อหัวของประชากรในสหรัฐอเมริกาที่ 132 แกลลอนต่อวัน จะเห็นได้ว่าศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวใช้นํ้าเทียบเท่ากับการบริโภคของประชากรถึง 4,200 คน ทำให้ภาคส่วนนี้กลายเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่ใช้นํ้ามากที่สุดในสหรัฐอเมริกา

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาว่าในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีศูนย์ข้อมูลมากกว่า 5,300 แห่ง จะพบว่าประมาณ 20% ของศูนย์ข้อมูลเหล่านี้ดึงนํ้าจากแหล่งนํ้าที่มีความเสี่ยงขาดแคลนในภูมิภาคตะวันตก ส่งผลให้ปัญหานํ้าขาดแคลนในพื้นที่ดังกล่าวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

AI ใช้นํ้าทำอะไรบ้าง? 

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

การใช้นํ้าของ AI สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 1. การระบายความร้อน โดยเฉลี่ยแล้ว ดาต้าเซ็นเตอร์ 1 แห่ง จะระเหยนํ้าไปประมาณ 0.26-2.4 แกลลอน หรือเทียบเท่ากับ 1-9 ลิตร ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง เพื่อควบคุมอุณหภูมิของเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปริมาณนํ้าที่ใช้ในขั้นตอนนี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ภูมิภาค และเทคโนโลยีการระบายความร้อนที่นำมาใช้, 2. การผลิตไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและโรงไฟฟ้าพลังนํ้า กระบวนการผลิตไฟฟ้าเหล่านี้จำเป็นต้องใช้นํ้าในปริมาณมาก โดยเฉลี่ยแล้ว การผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง จะต้องใช้นํ้าระเหยประมาณ 2.0 แกลลอน หรือ 7.6 ลิตร และ 3. การใช้นํ้าในห่วงโซ่อุปทานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการพัฒนา AI ตัวอย่างเช่น การผลิตชิปไมโครโปรเซสเซอร์เพียงตัวเดียวต้องใช้นํ้าประมาณ 2.1-2.6 แกลลอน หรือ 8-10 ลิตร เพื่อระบายความร้อนในระหว่างกระบวนการผลิตและทำความสะอาดแผ่นเวเฟอร์

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตของ AI ส่งผลให้ความต้องการใช้นํ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่า ภายในปี 2027 การใช้นํ้าของ AI ทั่วโลกจะสูงถึง 4,200-6,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเทียบเท่ากับการใช้นํ้าตลอดทั้งปีของประเทศเดนมาร์กถึง 4-6 เท่า สถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อทรัพยากรนํ้าจืดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติการขาดแคลนนํ้าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

แม้ในช่วง 10 ปีมานี้ จะมี ข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่ผลักดันให้ภาคธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นหัวใจสำคัญ ด้วยแรงกดดันจากผู้บริโภคและนักลงทุนที่ต้องการเห็นบริษัทบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทำให้ภาคส่วนดังกล่าวต้องเร่งลดการใช้พลังงานแบบดั้งเดิมและหันไปพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน ทว่า การ์ดโมเดล AI (Model Card) ซึ่งเป็นเหมือน “ป้ายชื่อ” หรือ
“คู่มือการใช้งาน” ที่ติดมาพร้อมกับโมเดล AI แต่ละตัว เพื่ออธิบายกระบวนการพัฒนาและใช้งานโมเดล AI ก็มักจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในการฝึกโมเดล แต่กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้นํ้า
เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ปัญหาใช้นํ้าในดาต้าเซ็นเตอร์ถูกมองข้าม

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อมองย้อนกลับไป ปัญหาการใช้นํ้าในดาต้าเซ็นเตอร์นั้นกลายเป็นประเด็นที่ถูกมองข้ามและยังไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจัง เนื่องจากขาดมาตรฐานและความโปร่งใสที่ชัดเจน ส่งผลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้นํ้าในแต่ละศูนย์ข้อมูล รวมถึงการกระจายตัวของการใช้นํ้าตามภูมิศาสตร์และเวลา ยังคงมีอยู่อย่างจำกัด การขาดข้อมูลเหล่านี้ทำให้ยากต่อการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของศูนย์ข้อมูลอย่างครอบคลุม

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ขณะที่ปัจจุบัน ความกดดันในเรื่องของผลกระทบจาก AI ต่อสิ่งแวดล้อมก็กําลังก่อตัวเพิ่มขึ้น เห็นได้จากการที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับการกำหนดกฎระเบียบและมาตรฐานในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ AI อย่างจริงจังมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ร่างพระราชบัญญัติผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากปัญญาประดิษฐ์ พ.ศ. 2567 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอโดย “เอ็ดเวิร์ด มาร์กี” วุฒิสมาชิกรัฐแมสซาชูเซตส์และคณะ ร่างกฎหมายฉบับนี้มอบหมายให้สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) เพื่อพัฒนามาตรฐานสำหรับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของ AI และสร้างกรอบการรายงานโดยสมัครใจสำหรับนักพัฒนา AI

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ยุโรปบังคับรายงานใช้นํ้าใน AI

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปก็ได้มีการออกกฎหมาย AI ฉบับใหม่ ซึ่งมีกำหนดบังคับใช้ในปีหน้า กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ระบบ AI ที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง ChatGPT ต้องรายงานการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากร และผลกระทบอื่น ๆ ตลอดวงจรชีวิตของระบบอย่างโปร่งใส ความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ การกำหนดกฎระเบียบและมาตรฐานดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาและนำไปใช้เทคโนโลยี AI ที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เช่น การย้ายการฝึกอบรมและการใช้งาน AI ไปยังภูมิภาคที่มีทรัพยากรนํ้าอุดมสมบูรณ์ สามารถช่วยลดภาระต่อแหล่ง นํ้าในพื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดแคลนได้

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวยังคงเป็นความท้าทายที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จะต้องร่วมมือกันพัฒนากรอบการทำงานที่ชัดเจน และส่งเสริมให้เกิดการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยี AI จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับมนุษยชาติ

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

เปิด 4 ข้อเสนอในการรับมือกับวิกฤต

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

“อานา ปินเฮโร ปริเว็ตต์” ผู้อำนวยการฝ่ายการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยและการริเริ่มการวิจัยใหม่ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญ จึงได้เสนอ 4 แนวทางในการรับมือกับวิกฤติ ดังนี้ 1. เพิ่มความโปร่งใสในการใช้นํ้า ด้วยการรายงานการใช้นํ้าของระบบ AI อย่างละเอียด ทั้งในเชิงปริมาณและช่วงเวลา จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และค้นหาจุดที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้นํ้าได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น อีกทั้งการวัดผลที่ชัดเจนยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการใช้นํ้า, 2. ส่งเสริมการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ ด้วยการสร้างสมดุลระหว่างประสิทธิภาพของ AI กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็น การนำแนวทางที่ครอบคลุมมาใช้ เช่น การประเมินผล
กระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment) ก่อนการนำเทคโนโลยี AI มาใช้งาน จะช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อทรัพยากรนํ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ,

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

3. พัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี ด้วยการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีระบายความร้อนที่ทันสมัยมาใช้จะช่วยลดการใช้นํ้าในการระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูลได้อย่างมาก นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้นํ้าในปริมาณมาก ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจ และ 4. ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการออกแบบและดำเนินงานศูนย์ข้อมูลโดยคำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบ และลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้นํ้า รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนและการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในระยะยาว

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

“แม้ว่า AI จะมีศักยภาพในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ แต่การนำ AI มาใช้ก็มีความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาและวิเคราะห์อย่างละเอียด การพัฒนา AI ที่เกี่ยวข้องกับนํ้าจึงต้องดำเนินไปควบคู่กับการสร้างมาตรการป้องกันที่เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันใช้เทคโนโลยีนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะนี่ไม่ใช่แค่ความรับผิดชอบของบริษัทเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นความรับผิดชอบของสังคมโดยรวมของเราในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีอีกด้วย” ปริเว็ตต์ กล่าวสรุป

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์

ขอบคุณข้อมูลจาก : Center for Secure Water, University of Illinois at Urbana-Champaign

ยิ่งฉลาดยิ่งกระหายนํ้าAIตัวแปรสำคัญเร่งวิกฤตินํ้าโลกเดลินิวส์