【เกมส์ แพนด้า】เรื่อง “อาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวาน” | เดลินิวส์

ประเด็นที่น่าสนใจของอาหารไทยกับการควบคุมเบาหวาน มีดังนี้

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์อาหารไทยมีส่วนประกอบที่ครบถ้วนทั้งห้าหมู่ ในสัดส่วนที่สมดุล

อาหารไทยนอกจากจะมีรสชาติกลมกล่อม ครบรสแล้ว ยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ในสัดส่วนที่สมดุล สอดคล้องกับหลักจานอาหารสุขภาพ 2:1:1 โดยมีผักเป็นองค์ประกอบหลักในปริมาณครึ่งหนึ่งของจาน หรือ 2 ส่วนของจานอาหาร ตามด้วยอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี เช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ในปริมาณ 1 ใน 4 ของจาน หรือ 1 ส่วนของจานอาหาร และอีก 1 ใน 4 ของจานที่เหลือ เป็นอาหารในกลุ่มข้าวแป้ง โดยเน้นเลือกข้าวที่ผ่านการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญชาติ ฯลฯ สำหรับ “ข้าว” ถือว่าเป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนสำคัญต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น การเลือกกินข้าวสายพันธุ์ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ก็เป็นอีกทางเลือกสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์Thai Spicy Chili Sauce NAM PRIK KAPI Paste with Mixed Herb Ingredient Traditional Thai Food Cuisineอาหารไทยอุดมไปด้วยใยอาหาร

ประเทศไทยอุดมไปด้วยพืชผัก และผลไม้ที่หลากหลาย ซึ่งอาหารในกลุ่มนี้จัดเป็นแหล่งของใยอาหาร  โดยอาหารไทยเกือบทุกเมนูจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบ หรือมีผักเป็นเครื่องเคียง เช่น น้ำพริก กินคู่กับผักสด หรือผักต้ม หรือเมนูที่มีรสชาติจัดจ้าน ก็จะรับประทานแกล้มกับผักสด เพื่อเป็นตัวช่วยทำให้รสชาติสมดุลมากยิ่งขึ้น จากแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 แนะนำว่า เน้นบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญชาติที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วเมล็ดแห้งและเมล็ดพืช ผัก และผลไม้ ธัญชาติที่ไม่ผ่านการขัดสี ปริมาณ 100 กรัม มีใยอาหาร 4 – 10 กรัม ส่วนถั่วเมล็ดแห้งและเมล็ดพืช ปริมาณ 100 กรัม มีใยอาหาร 19 – 28 กรัม ซึ่งโดยทั่วไป มีใยอาหารสูงกว่าผักและผลไม้ โดยปริมาณใยอาหารที่คนไทยควรได้รับในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ คือ 25 กรัมต่อวัน สำหรับเด็ก คือ จำนวนอายุปี + 5 กรัมต่อวัน

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์อาหารไทยมีการชูรสชาติด้วยเครื่องเทศ และสมุนไพร

วัตถุดิบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในอาหารไทย นั่นคือ เครื่องเทศและสมุนไพร ที่เป็นส่วนประกอบที่ช่วยชูรสชาติ เพิ่มสีสัน และกลิ่นที่ชวนรับประทานให้กับอาหารไทย ส่งผลให้สามารถลดปริมาณการใช้เครื่องปรุงรสในการปรุงอาหารลงได้ เป็นการชูรสชาติของอาหารจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ ทดแทนการใช้เครื่องปรุงในกลุ่มน้ำตาล น้ำปลา หรือแม้แต่ผงชูรส ซึ่งสอดคล้องกับการลดหวานจัด มันจัด และเค็มจัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

“เครื่องแกง” หรือ “พริกแกง” คือ ตัวอย่างของส่วนผสมที่ใช้เครื่องเทศและสมุนไพรหลากหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ และเครื่องแกงก็เป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้สำหรับการปรุงอาหารไทยประเภทแกง ตัวอย่างส่วนผสมของเครื่องแกง ที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักที่ขาดไม่ได้ของอาหารไทย

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

    เครื่องแกงเผ็ด เช่น พริกชี้ฟ้าแห้ง พริกจินดาแห้ง หอมแดง ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด  กระเทียม กะปิ และเกลือ

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

    เครื่องแกงเขียวหวาน เช่น พริกชี้ฟ้าเขียว ผิวมะกรูด ข่าซอย หอมแดงซอย เม็ดผักชี  กระเทียมซอย พริกไทยเม็ด ยี่หร่า รากผักชี ตะไคร้ซอย กะปิ และเกลือป่น

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

    เครื่องแกงมัสมั่น เช่น พริกชี้ฟ้าแห้ง พริกไทย ตะไคร้ซอย ข่าซอย รากผักชี ลูกจันดอกจัน กานพลู กระเทียม อบเชย หอมแดง เม็ดลูกกระวาน ลูกผักชี และยี่หร่า

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

    เครื่องแกงใต้ เช่น พริกจินดาแห้ง พริกสด ตะไคร้ ขมิ้นชัน กระเทียม หอมแดง  พริกไทยดำ กะปิ และเกลือป่น

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

ในปัจจุบัน เครื่องเทศและสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารไทย มีผลงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคุณสมบัติของการต้านอนุมูลอิสระและการลดการอักเสบ

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์Tom Yum Kung Thai hot spicy soup shrimp with lemon grass,lemon,galangal and chilli on wooden table, Thailand Food

บทสรุปส่งท้าย…

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

อาหารไทยเป็นวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน และเป็นภูมิปัญญาไทยในการใช้ “อาหารเป็นยา” ประกอบกับในปัจจุบันมีหลักฐานเชิงประจักษ์มากมายที่แสดงให้เห็นถึงสรรพคุณของอาหารไทยที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวาน ดังนั้น สำหรับผู้เป็นเบาหวาน การปรับรูปแบบอาหารไทยที่เรารับประทานในแต่ละพื้นถิ่น ให้เป็นไปตามรูปแบบอาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากจะทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้ว หากน้ำหนักลดได้มากเพียงพอ อาจส่งผลให้โรคเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบได้ อีกทั้งยังอร่อยถูกปาก และยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอีกด้วย

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

ข้อมูลจาก พันเอกหญิง ดร.กรกต วีรเธียร สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

นายแพทย์สุรพงศ์  อำพันวงษ์

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่

เรื่องอาหารไทยสำหรับผู้เป็นเบาหวานเดลินิวส์