【superslotดวงดี】‘จักรวาลกาแฟ’..ดึงดูดชีวิตสู่วงโคจร ‘จีรศักดิ์ จูเปาะ - สุกัญญา บีซีทู’ เดินตามฝัน..หวานขมที่กลมกล่อม | เดลินิวส์

“ผมเป็นแค่คนเดินตามฝันของเขาครับ” หนึ่งใน “หัวเรือใหญ่” ฝ่ายชาย แห่งฟาร์ม “หญ่าโย (YAYO)” ที่ชื่อ “บี๋-ว่าที่ ร.ต.จีรศักดิ์ จูเปาะ” บอกเราระหว่างการสนทนาในช่วงค่ำ แม้น้ำเสียงเขาจะติดตลก แต่ประกายตาก็เป็นพยานได้ว่าเขารู้สึกเหมือนที่พูดจริง ๆ กับความรักที่มีต่อ “สุ-สุกัญญา บีซีทู” หัวเรือใหญ่ฝ่ายหญิง ที่เป็นทั้ง “คู่คิดธุรกิจ” และ “คู่ชีวิต” โดยนอกจากมุมมองต่อธุรกิจ “กาแฟ” ที่เขากับภรรยาได้บอกเล่าให้ฟังแล้วบางจังหวะเราเองยังได้รับรู้เรื่องราวผ่านจังหวะก้าวชีวิตของทั้งคู่อีกด้วย ซึ่งก็น่าสนใจและสะกดใจได้ไม่แพ้กัน ที่ “ทีมวิถีชีวิต” ตั้งใจนำเรื่องราวของทั้งสองคนมาบอกเล่าในวันนี้

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

บี๋-ว่าที่ ร.ต.จีรศักดิ์ / สุ-สุกัญญา บีซีทู

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

“ทุกสิ่งที่เห็นวันนี้เป็นทุกสิ่งที่เราตั้งใจสร้างขึ้น โชคดีที่การที่เราทั้งสองได้มีโอกาสออกไปเห็นโลกกว้างทำให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ รวมถึงโอกาสในชีวิต” หนึ่งในผู้ก่อตั้ง “หญ่าโยคอฟฟี่” อีกหนึ่งแบรนด์กาแฟพรีเมียมบนดอยช้าง ที่ชื่อ “บี๋-จีรศักดิ์” ระบุกับเราเรื่องนี้ ทั้งนี้ กาแฟสัญชาติไทยแบรนด์นี้เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน และคำแนะนำต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจบนพื้นฐานความยั่งยืน ส่วนเส้นทางความเป็นมาของ “หญ่าโย” นั้น หัวเรือใหญ่ของหญ่าโย บี๋-จีระศักดิ์ ได้เล่าถึง “ที่มาของชื่อหญ่าโย” ดังกล่าวว่า คำนี้เป็นภาษาอ่าข่า แปลว่า “ลูกผู้ชาย” ซึ่งเขาได้นำมานิยามใหม่อีกครั้งด้วยคำว่า “สุภาพบุรุษ” ที่ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Gentleman” เพื่อที่จะสื่อถึงคาแรกเตอร์เฉพาะของกาแฟที่ผลิตขึ้นว่า แม้จะให้รสชาติที่เข้มและลุ่มลึก แต่ก็มีความนุ่มนวลในรสชาติด้วย เหมือนกับสุภาพบุรุษที่แม้ภายนอกจะดุดันเข้มแข็ง แต่ก็มีความสุภาพอ่อนโยน นี่เป็น “ความหมายเบื้องหลัง” ของกาแฟสัญชาติไทยแบรนด์นี้

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

“ตั้งใจเลยครับที่จะใช้ชื่อนี้ เพราะนอกจากจะใช้สื่อคาแรกเตอร์กาแฟของเราทั้งสองคน ซึ่งนอกจากจะมีความสตรองและหนักแน่นแล้ว ในความหนักแน่นนั้นยังเจือด้วยความนุ่มนวลรวมอยู่ด้วย เหมือนเจนเทิลแมน เหมือนความเป็นสุภาพบุรุษ และอีกอย่างที่ต้องการใช้ชื่อนี้ เพราะอยากสื่อถึง Core value ที่เรายึดถือเกี่ยวกับความแฟร์ หรือความยุติธรรม 3 ประการ คือ แฟร์ที่หนึ่ง ยุติธรรมกับเกษตรกร แฟร์ที่สอง ยุติธรรมกับผู้บริโภค และแฟร์ที่สาม ยุติธรรมกับสิ่งแวดล้อม” บี๋อธิบายเรื่องนี้

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

ตากกาแฟ หลังเก็บเกี่ยว

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

ก่อนขยายถึง Core value เพิ่มเติมว่า แนวคิดนี้ถือว่าเป็นรากฐานทั้งการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจของเขาและภรรยา รวมถึงทุกคนที่หญ่าโยด้วย เพื่อที่จะบอกทุกคนว่า ที่นี่ไม่เพียงแต่ตั้งใจผลิตกาแฟที่ดี มีคุณภาพ และปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังอยากให้นิเวศยั่งยืนด้วย ซึ่งการทำให้ยั่งยืนได้นั้น เกษตรกร ลูกค้า สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดต้องเดินไปได้ด้วยกัน ซึ่งการให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเช่นนี้ ได้กลายเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของกาแฟสัญชาติไทยแบรนด์นี้ จนเป็นที่รู้จักของนักชิมกาแฟและวงการกาแฟทั่วโลก ทั้งนี้ ความสำเร็จของกาแฟแบรนด์สัญชาติไทยจากดอยช้างแบรนด์นี้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของทั้งเขาและภรรยา คือ สุ-สุกัญญา นั้น เรื่องนี้ก็ต้องย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้น โดย บี๋ ได้เล่าว่า จริง ๆ ธุรกิจกาแฟนี้ เขาและ สุ เป็น Gen 2 ที่มารับช่วงสืบทอดต่อจากครอบครัวของสุ ซึ่งบี๋เล่าต่อไปว่า ครอบครัวของภรรยาทำไร่กาแฟมานานแล้วที่ดอยช้าง ซึ่งร้านกาแฟ และธุรกิจกาแฟ ก็เริ่มต้นจาก “ความฝันของภรรยา” เช่นกัน จึงไม่ผิดที่เขาจะบอกว่า เขาเป็นแค่คนเดินตามฝันของภรรยาเท่านั้น บี๋เล่าเรื่องนี้ พร้อมผินหน้าหันไปมอง สุ-สุกัญญาเพื่อขอให้ภรรยาช่วยขยายความเรื่องนี้ต่อ

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

“ตั้งแต่เด็กจนโต บอกเลยว่าในใจเราไม่ชอบกาแฟมาก เพราะเราเห็นพ่อแม่และครอบครัวอยู่กับกาแฟมาตลอด เราก็เลยพยายามหาทางหนีจากกาแฟ โดยเลือกไปเรียนต่อต่างประเทศ ที่จีน จนจบปริญญา 4 ปี ด้วยทุน พ.ม. ซึ่งก็คือทุนพ่อแม่ (หัวเราะ) และก็ปฏิเสธทุนเรียนต่อปริญญาโทที่จีน แต่เลือกไปเรียนที่อเมริกา ด้วยทุน พ.ม. หรือพ่อแม่อีกเช่นกัน (หัวเราะ) ซึ่งก็ใช้ชีวิตในต่างประเทศไป แต่พอถึงจุดหนึ่งก็มารู้ตัวเองว่า เราต้องกลับบ้านแล้ว เพราะที่บ้านมีแม่ มีพ่อ มีครอบครัวรอเราอยู่ ก็เลยกลับบ้าน”สุ-สุกัญญา หัวเรือใหญ่ของหญ่าโยฟาร์ม เล่าเรื่องนี้

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

พากาแฟไทยไปโชว์ชาวโลกที่งาน World coffee เดนมาร์ก

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

ก่อนจะเล่าให้เราฟังอีกว่า พอเธอตัดสินใจกลับประเทศไทย กลับมาอยู่บนดอย ตัวเลือกเดียวที่มีในหัวตอนนั้นก็คือ “กาแฟ” เพราะกาแฟทำให้ครอบครัวเป็นครอบครัว และก็เป็นกาแฟที่เธอพยายามหนีอีกนั่นแหละที่ช่วยทำให้เธอได้เห็นโลกกว้าง จึงเป็นจุดเริ่มต้นแรกของเธอกับร้านกาแฟร้านแรก ซึ่งให้ประสบการณ์อย่างมากกับตัวเธอ เพราะทุกอย่างเต็มไปด้วย “ความพัง” เธอบอกเรื่องนี้พร้อมหัวเราะอย่างขำ ๆ ก่อนขยายความพังที่ว่านี้ว่า พังแรก เพราะไม่มีประสบการณ์กับการใช้เครื่องมือ พังที่สอง เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ดื่มกาแฟมาก่อนเลย ทำให้ไม่รู้ว่าอะไรอร่อย และ พังที่สาม ไม่เคยมีประสบการณ์การทำร้านกาแฟ ทำให้ไม่มีคอนเซ็ปท์ที่ชัดเจน ไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งตอนนั้นเธอเองไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่า ทำไมตอนที่ทำร้านนั้นมันถึงไปไม่รอด โดยหลังมีประสบการณ์ความพังที่ร้านแรกแล้ว เธอและสามีก็ได้นำมาถอดบทเรียน และนำมาใช้ในการเริ่มต้นร้านกาแฟแห่งใหม่ จนเกิดเป็น “หญ่าโย” แห่งนี้ขึ้นมา “จากวันนั้นถึงวันนี้หญ่าโยก็เดินทางมาได้เกือบ 15 ปีแล้วค่ะ” สุพูดถึงเส้นทางร้านกาแฟร้านนี้ ที่เป็นสารตั้งต้นความฝันต่อมาของเธอและสามี ทั้งการทำโรงผลิตกาแฟ ทั้งการทำที่พักชื่อเก๋ ๆ อย่าง Bala villa กับ Akano รวมถึงร้านอาหารชื่อ The BC2 ที่นำเสนอเมนูอาหารสไตล์ฟิวชั่นอ่าข่า

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

ทั้งนี้ นอกจากการทำ “ร้านกาแฟในฝัน” แล้ว ทั้ง สุ และ บี๋ ก็ยังปลุกปั้นให้ที่นี่เป็น “แล็บโพรเซสกาแฟ” ด้วย เพื่อให้ธุรกิจกาแฟของตนเกิดระบบที่ครบวงจร เนื่องจากมองว่า การที่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจะมีโอกาสได้ ก็ต้องทำให้เกิดไฟนอล โพรดัคท์ จึงเป็นที่มาในการสร้าง “แบรนด์หญ่าโย” ขึ้น โดยแตกไลน์การโพรเซสกาแฟ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์มากมายให้นักชิมกาแฟได้เลือกตามสไตล์และความชอบของตัวเอง ซึ่งเรื่องราวในการ “ปั้นแบรนด์” จนทำให้กาแฟสัญชาติไทยแบรนด์นี้โด่งดังเป็นที่รู้จักระดับโลกได้นั้น บี๋ยืนยันว่า ไม่มีคำว่าโชคช่วย แต่ต้องเกิดจากการเรียนรู้จริง ๆ และลองผิดลองถูกทั้งสิ้น ซึ่งเขาเองแม้จะคลุกคลีอยู่กับกาแฟมามากกว่า 10 ปีขึ้นไป แต่วันนี้ก็ยังคงหลงใหล และยังมีเรื่องให้ศึกษาอีกเยอะเกี่ยวกับกาแฟ

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

สุ และบี๋ ตอนแต่งงานตามพิธีชนเผ่าอาข่า

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

“ที่ผมอยากให้กาแฟเป็นตัวพลิกเกมมาก ๆ โดยเฉพาะกับพี่น้องบนดอยช้างของเรานั้น เพราะผมมองว่ากาแฟมันสามารถสร้างความมั่นคงในเรื่องเศรษฐกิจปากท้องให้พี่น้องของเราได้ ผมก็เลยมาศึกษาแบบจริงจัง จนมามองว่า เทรนด์โลกตอนนี้ สายพันธุ์กาแฟที่จะเปลี่ยนโลก เปลี่ยนชีวิตได้ จะต้องเป็นกาแฟโรบัสต้า เพราะแม้อาราบิก้าจะมีภาพลักษณ์ที่ดูพรีเมียม แต่เทรนด์ในตลาดโลกจริง ๆ แล้ว ตลาดส่วนใหญ่นิยมโรบัสต้ามากที่สุด โดยเฉพาะในโซนที่บริโภคกาแฟกันแบบจริงจัง อย่างยุโรป อย่างตะวันออกกลาง หรือเกาหลีใต้ ซึ่งเน้นปริมาณ เน้นคาเฟอีนสูง ๆ และกินกาแฟกันทั้งวัน ดังนั้นอาราบิก้าจึงไม่ตอบโจทย์ตลาด เพราะคาเฟอีนน้อยกว่า ราคาแพงกว่า ทำให้ในโซนแถบนี้จึงนิยมโรบัสต้ามากที่สุด” บี๋พูดถึง “กาแฟโรบัสต้า” ที่เขามองว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมให้พี่น้องที่นี่

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ “โรบัสต้าจะเป็นผู้เล่นดาวรุ่ง” สำหรับเขา คือ โรบัสต้าสามารถปลูกในพื้นที่ลุ่มราบได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกบนดอย หรือบนพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเลสูง ๆ เหมือนอาราบิก้า อีกทั้งไม่ต้องอาศัยทักษะการดูแลมากเหมือนกับอาราบิก้า ทำให้เขามองว่าโรบัสต้าจะเป็นกาแฟอีกตัวที่สามารถเปลี่ยนชีวิตเกษตรกรได้ เขาเลยพยายามชวนเกษตรกรคนอื่น ๆ ให้มาทดลองปลูกโรบัสต้า โดยเขาได้ลงทุนเพาะกล้าพันธุ์ต้นกาแฟไว้หลักกว่าแสนต้น เพื่อให้ชาวบ้านนำไปปลูกฟรี ๆ แต่ปรากฏไม่มีใครสนใจ เขาจึงต้องนำกล้าต้นกาแฟนั้นมาปลูกเองในแปลงทดลองที่บ้านห้วยน้ำมา ซึ่งเป็นหมู่บ้านของตัวเขา พร้อม ๆ กับจดบันทึกเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ โดยหลังทดลองทำสำเร็จ เกิดเป็น “Fine Robusta” ที่เป็นกาแฟโรบัสต้าเกรดพรีเมียม ทำให้จากที่หลายคนไม่สนใจ ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจ จนปัจจุบันถือได้ว่าที่ดอยช้างนี้ ชาวบ้านเริ่มหันมาปลูกกาแฟพันธุ์นี้ควบคู่ไปกับอาราบิก้า และพืชผลชนิดอื่น ๆ เช่น แมคคาเดเมีย อโวคาโด้ เป็นต้น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ตลอดทั้งปี แม้อยู่นอกฤดูเก็บเกี่ยวกาแฟแล้วก็ตาม บี๋เล่าพร้อมรอยยิ้มภูมิใจ หลังพยายามเรื่องนี้มานาน

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

บรรยากาศด้านนอก-ด้านใน ร้านกาแฟ YAYO

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

“จะเรียกว่ากาแฟทำให้จีดีพีของชาวบ้านบนดอยช้างสูงขึ้นไปด้วยก็ได้นะครับ เพราะหลาย ๆ คนสามารถส่งลูกหลานไปเรียนต่อสูง ๆ ในเมืองหรือต่างประเทศกันได้ จนตอนนี้การศึกษาขั้นพื้นฐานของลูกหลานเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบนดอยช้างของเราขั้นต่ำก็คือต้องเรียนจบปริญญาตรี ซึ่งในอดีตภาพแบบนี้ไม่มีใครกล้าคิดกล้าฝันว่าจะทำได้ แต่วันนี้คนดอยช้างทำได้ครับ” บี๋พูดถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่ดอยช้าง

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

ก่อนจบบทสนทนาคืนนั้น “ทีมวิถีชีวิต” ได้รับฟัง “สิ่งที่ทั้งสองภูมิใจมาก” อีกเรื่องหนึ่ง โดย “บี๋-จีรศักดิ์” และ “สุ-สุกัญญา” บอกเราว่า “นอกจากจะช่วยให้คุณภาพชีวิตและรายได้พี่น้องบนดอยช้างดีขึ้นได้แล้ว อีกเรื่องที่รู้สึกดีใจมากก็คือ ช่วยทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อายที่จะเป็นเกษตรกร หรือมีอาชีพทำสวนกาแฟ จนคนรุ่นใหม่ ๆ มองว่า อาชีพคนทำกาแฟเป็นอาชีพที่เท่มาก ทำให้รู้สึกภูมิใจที่ทำอาชีพนี้ จนไม่ทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งเราทั้งคู่มองว่า นี่แหละคือความยั่งยืนที่แท้จริง”.

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

‘นักทำกาแฟ’ อาชีพนี้ ‘เวิลด์ไวด์’

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

นอกจากความดีใจที่ช่วยทำให้ “คนดอยช้างรุ่นใหม่” รู้สึก “ภูมิใจในอาชีพคนทำกาแฟ” แล้ว บี๋-ว่าที่ ร.ต.จีรศักดิ์ ยังพูดถึง “จุดเด่น” ของอาชีพดังกล่าวนี้ว่า อาชีพวิศวกร อาชีพหมอ ถ้าเรียนที่ประเทศหนึ่งและไปทำงานอีกประเทศหนึ่ง ก็ต้องไปสอบไลเซนส์ใหม่ที่เป็นของประเทศนั้น ๆ แต่กับ “อาชีพคนทำกาแฟ” นั้น เรียนที่ไหนก็สามารถเป็นคนทำกาแฟได้ทั่วโลก เพราะ “กาแฟเป็นภาษาสากล” ที่คนทั้งโลกต่างก็พูดภาษาเดียวเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นยุโรป อเมริกา เอเชีย โดยเขาได้ย้ำเกี่ยวกับอาชีพนี้ว่า “อาชีพที่เกี่ยวข้องกับโลกของกาแฟนั้น จึงมีความเวิลด์ไวด์ เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ส่วนไหนของโลก ไม่ว่าจะใช้ภาษาพูดอะไร แต่เมื่อคุยกันด้วยกาแฟ คนทั้งโลกเข้าใจเหมือนกันหมด” .

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน

จักรวาลกาแฟดึงดูดชีวิตสู่วงโคจรจีรศักดิ์จูเปาะสุกัญญาบีซีทูเดินตามฝันหวานขมที่กลมกล่อมเดลินิวส์