【สลากกินแบ่งรัฐบาล 1 เมษายน】สสส. สานพลังภาคี เดินหน้าเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 85% ภายในปี 73 | เดลินิวส์

      โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การรับประทานอาหาร รวมถึงขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ซึ่งจากถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านกิจกรรมทางกายของคนไทยในรอบ 12 ปี (ปี 2555-2566) พบระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำกว่า 70%  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงสถานการณ์ “12 ปี การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อวิถีชีวิตสุขภาวะของคนไทย” สะท้อนสถานการณ์และการขับเคลื่อนการมีกิจกรรมทางกาย  ร่วมออกแบบและกำหนดทิศทางการส่งเสริมและสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผลักดันนโยบายระดับประเทศที่เพียงพอของคนไทยให้อยู่ที่ 85% ตามเป้าหมายของแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573 ภายในปี 2573

สสสสานพลังภาคีเดินหน้าเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอภายในปีเดลินิวส์

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ( สสส. )  กล่าวว่า  สสส. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย เร่งขับเคลื่อนกลยุทธ์การส่งเสริมและการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ทุกคนเข้าถึงกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ ลดความเสี่ยงของการเกิด NCDs  ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ที่ออกกำลังกายน้อยในวัยทำงาน  ต้องกระตุ้น รณรงค์และร่วมกันปลูกจิตสร้างวินัยสู่นิสัยรักการออกกำลังกาย  ซึ่งเราพบว่าเด็กและเยาวชน มีกิจจกรมทางกายน้อยถึง 20 % กลุ่มผู้หญิงมีกิจกรรมทางกายประมาณ 40% ผู้สูงอายุไม่ถึง  60%  องค์การอนามัยโลก (WHO)  ให้คำนะนำว่าในหนึ่งสัปดาห์ควรออกกำลังกาย 150 ถึง 300 นาที  ซึ่งเราอาจจะแบ่งออกกำลังกายได้ตามความเหมาะสมของตัวเอง  โดยช่วงวัยที่น่าห่วงที่สุด คือวัยกลางคน อายุ 40 ปีขึ้นไป ในบางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อาจส่งผลให้ออกกำลังกายได้น้อยลง หรือออกกำลังกายไม่ได้เลย มีความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆได้ ฉะนั้นการออมสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ตั้งแต่วันนี้จะส่งผลดีเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ถึงแม้ว่าการเก็บเงินก่อนเกษียณจะสำคัญ แต่การมีสุขภาพที่ดีเพื่อใช้เงินหลังเกษียณก็สำคัญเช่นกัน เพราะการมีสุขภาวะที่ดี สามารถที่จะเป็นกำลังขับเคลื่อนสังคมต่อไปจนถึงอายุ 80ปี หรือ 90ปี  ช่วยลดการพึ่งพาลูกหลานและสามารถที่จะดูแลตัวเองได้ไปจนถึงในช่วงระยะท้ายของชีวิต

สสสสานพลังภาคีเดินหน้าเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอภายในปีเดลินิวส์

ดร.นพ.ไพโรจน์  เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ( สสส. ) กล่าวว่า 12 ปีผ่านมา สถานการณ์กิจกรรมทางกายของคนไทยไม่พียงพอ ต่ำกว่า 70% ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 55 % ซึ่งกลุ่มเด็กและเยาวชน, ผู้สูงอายุน่าห่วงที่สุด เด็กและเยาวชน ใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจอ และและการนั่งเรียนอยู่กับที่ ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลง และช่วงวัยที่ต้องเร่งให้ความสำคัญ คือ วัยทำงานประมาณ 30 กว่าล้านคน ที่ต้องใช้ชีวิต 8 ชั่วโมงอยู่ในสถานประกอบการ กลุ่มนี้มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการผลักดันให้มากขึ้น หลังจากผ่านพ้นสถานการณ์ แพร่ระบาดโควิด-19 ตัวเลขขยับขึ้นจนถึงปัจจุบันอยู่ประมาณ 68%  สสส.ได้ตั้งเป้าหมายภายในปี 2573 กิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยควรอยู่ที่ 85%  การรณรงค์กระตุ้น  สร้างค่านิยมเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลยุทธ์ผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ จำเป็นต้องลดช่องว่าง 2 มิติ คือ 1.มาตราการที่นำมาใช้ยังมีความเหลื่อมล้ำ 2.สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อย ผู้ว่างงาน ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงพื้นที่สุขภาวะ

สสสสานพลังภาคีเดินหน้าเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอภายในปีเดลินิวส์

รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ร่วมทำงานกับ สสส. ทำโมเดลต้นแบบต่างๆ  เช่น กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น ทำโมเดลที่เรียกว่า โรงเรียนฉลาดเล่น ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะเด็กนักเรียน ให้มีพื้นที่ เวลา และโอกาส ในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเพียงพอและเหมาะสม  ให้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศ และอีกกลุ่มเป็นหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ซึ่งจากการวิเคราะห์เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ ร่วมกับนานาชาติกลุ่มประชากร 5.7 ล้านคนทั่วโลก พบประเทศเรารวมอยู่ในกลุ่มสีแดง ที่องค์การอนามัยโลกบอกว่าในช่วง10 ปี ถ้าไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่แต่ละประเทศวางไว้ จะมีประชากรโลกอีก 500 ล้านคนเป็นผู้ป่วย NCDs รายใหม่ นอกจากนี้ยังพบประชากร 5 กลุ่มที่กำลังเผชิญความเหลื่อมล้ำทางโอกาสเข้าถึงการมีกิจกรรมทางกาย 1.กลุ่มผู้สูงอายุ มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 60%  2.กลุ่มที่มีรายได้น้อย มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 59% 3.กลุ่มผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพหรือไม่ทำงาน มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 46.5% 4.กลุ่มผู้หญิง มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 40% ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าห่วง เนื่องจากตกอยู่ในภาวะขาดกิจกรรมทางกายที่เพียงพอกว่า 16 ล้านคน 5.กลุ่มเด็ก มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 20% เทียบเท่ากับ 4 ใน 5 คน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ กระทบต่อการเรียนรู้ในระยะยาว

สสสสานพลังภาคีเดินหน้าเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอภายในปีเดลินิวส์

นอกจากนี้ สสส.และภาคีเครือข่าย ยังเร่งขับเคลื่อนกลยุทธ์การส่งเสริมและการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ทุกคนเข้าถึงกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ ใน 3 มาตรการ 1.รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง โดยออกแบบมาตรการให้เหมาะสมตามบริบทของชุมชน 2.จัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ และพื้นที่สาธารณะอย่างปลอดภัย 3.จัดกิจกรรมและบริการด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและหลากหลาย

สสสสานพลังภาคีเดินหน้าเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอภายในปีเดลินิวส์

การมีกิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่าง ๆ ที่ใช้กล้ามเนื้อโครงร่างอันก่อนให้เกิดการใช้ และเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้วิธีการ เช่น การเล่นกีฬา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆในกจวัตรประจำวัน เช่น การปั่นจักรยาน การเดินขึ้น-ลงบันได ไม่นั่งนานๆ หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น  หากสนใจหรือต้องการสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย www.tpak.or.th/th

สสสสานพลังภาคีเดินหน้าเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอภายในปีเดลินิวส์