【lucia casino】"เพื่อไทย" ลอยแพ "ทักษิณ" | เดลินิวส์
มีทั้งด้านลบและด้านบวกจริงๆ หลัง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ้นโทษและสามารถมาเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะอาจมีผลต่อความนิยมของพรรคเพื่อไทย(พท. ) แต่ก็เสี่ยงจะถูกฟ้องร้องทางกฎหมาย เพราะถือเป็นการนำคนนอกเข้ามาครอบงำ ซึ่งก่อนหน้านั้นมีนักเคลื่อนไหวไปยื่นเรื่องให้ตรวจสอบในหลายรายหลายราย โดยหนึ่งในนั้นคือ นายธีรยุทธ สุวรรณเกสร อดีตทนายความ พระพุทธะอิสระ ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ(รธน.) สั่งให้นายทักษิณ ผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคพท. ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ อันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิบไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรธน. 2560 มาตรา 49
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์โดยกรณีที่ 1. ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษให้นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร เหลือโทษจำคุกต่อไปอีก 1 ปี โดยพบว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 (พท. )เป็นเครื่องมือควบคุม การบริหารราชการแผ่นดินสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ระหว่างต้องโทษจำคุกได้พักอาศัยอยู่ห้องพักชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อไม่ต้องรับโทษอยู่ในเรือนจำแม้แต่วันเดียว เป็นการฝ่าฝืนไม่น้อมรับโทษจำคุกในเรือนจำตามพระบรมราชโองการ การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่งทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่งผลให้เกิดการเซาะกร่อน บ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สุด
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์กรณีที่ 4.ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการแทน ผู้ถูกร้องที่ 2 ในการเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอบุคคลผู้สมควรเป็นนายกฯคนใหม่ เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 (บ้านจันทร์ส่องหล้า)
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ก่อนหน้านั้นกรณีศาลรธน.ให้อัยการสูงสุด(อสส. )ชี้แจงการดำเนินการตามคำร้องที่นายธีรยุทธ ยื่นขอให้ศาลรธน. สั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคพท. ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ อันจะนำ ไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ ตามรธน. 2560 มาตรา 49 นั้น ขณะนี้นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อสส. ได้ทำหนังสือตอบส่งถึงศาลรธน. ว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา และเดิมศาลรธน. จะหยิบยกคำร้องดังกล่าว ขึ้นมาพิจารณาในการประชุมคณะตุลาการศาลรธน. วันพุธที่ 13 พ.ย. ว่า จะรับหรือไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย แต่เนื่องจากตุลาการศาลรธน.ติดภารกิจราชการต่างประเทศ รวมถึงในวันพุธที่ 20 พ.ย. ตุลาการก็มีภารกิจราชการในประเทศ ดังนั้น จึงจะมีการพิจารณาว่ารับคำร้องดังกล่าวไว้วินิจฉัยหรือไม่ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย.
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ด้าน นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคพท. ให้ความเห็นกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ระบุว่า การทานข้าวร่วมกับ 6 พรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ภายหลังศาลรธน.วินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกฯ เป็นเพียงการกินมาม่า ว่า วันที่เป็นข่าว ไม่มีคนของพรรคพท.อยู่ในที่เกิดเหตุเลย ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้จริงๆ เมื่อถามต่อว่าอสส.ได้ทำหนังสือไปยังศาลรธน.กรณีนายทักษิณ และพรรคพท. ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิ์ และเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ นายสรวงศ์ กล่าวว่า ไม่ได้เตรียมพร้อมอะไร เรายืนอยู่บนความตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเกิดอะไร เราก็พร้อมที่จะต่อสู้ในแง่มุมของความบริสุทธิ์ใจ
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์เมื่อถามอีกว่าหากศาลรธน.รับคำร้องจะมีผลให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายสรวงศ์ ร้องโอ้ ก่อนกล่าวว่า ในข้อกฎหมายไม่ทราบจริงๆ แต่ถ้าศาลรธน.รับคำร้อง มองว่าก็ไม่เกี่ยวอะไรกับครม. เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ถูกร้อง คือนายทักษิณและพรรคพท.เมื่อถามต่อว่าพรรคพท.ยืนยันใช่หรือไม่ว่าสามารถชี้แจงได้หมดทั้ง 6 ข้อกล่าวหา นายสรวงศ์ กล่าวว่า ชี้แจงได้หมดทั้ง 6 ข้อกล่าวหา นายทักษิณไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อพท. ยกเว้นเป็นพ่อของหัวหน้าพรรคพท.แค่นั้น
ดูแนวโน้มการต่อสู้คดีของพรรคพท. จะโยนว่า การพบ 6 พรรคร่วมรัฐบาล เป็นเรื่องของนายทักษิณ ไม่ได้เกี่ยวกับพรรค เท่ากับชิ่งหนีปมร้อน คงต้องรอดูเมื่อถึงเวลาเข้าสู่กระบวนการไต่สวน คำชี้แจงดังกล่าวจะฟังขึ้นหรือไม่ แต่ช่วยตอกย้ำให้เห็น “นายทักษิณ ชินวัตร” ถือเป็นสายล่อฟ้าจริง
ส่วนปัญหาที่ดินเข้ากระโดง ที่จ.บุรีรัมย์ ที่ถูกมองว่าจะเป็นร้อน ที่อาจทำให้เป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างพรรคพท. ซึ่งดูแลกระทรวงคมนาคม โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะที่เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณ เขากระโดง กับพรรคภูมิใจไทย (ภท. ) ซึ่งดูแลกระทรวงมหาดไทย มี กรมที่ดิน อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภท.ทำหน้าที่รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 9 พ.ย. กรมที่ดินเผยแพร่รายละเอียด กรณีคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณเขากระโดงจ.บุรีรัมย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตระกูลชิดชอบ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ลงวันที่ 30 มี.ค. 2566 ให้อธิบดีกรมที่ดิน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้รฟท. (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกา
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ดังนั้น เมื่อพิจารณาผลการสอบสวน และความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ เห็นว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากรฟท.เห็นว่ามีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ประกอบกับการดำเนินการคณะกรรมการสอบสวนฯ และกรมที่ดิน เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง และตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วย กฎหมาย พ.ศ. 2553 บัญญัติไว้ จึงเห็นว่ามิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาของศาลแต่ประการใด.
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์โดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรมว.คมนาคม กล่าวถึงกรณีที่กรมที่ดิน มีมติไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทกับรฟท. ว่า ที่ดินตรงนั้นเป็นของรฟท. แม้กระทั่ง 1 ตารางวาก็เสียไปไม่ได้ จึงให้รฟท. ไปตรวจสอบดู ซึ่งรฟท.ไป ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งเหตุว่า อธิบดีกรมที่ดิน ปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาศาลปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 75/3 โดยขอให้ศาลปกครองพิจารณา หรือไต่สวน กำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของรฟท. จึงเห็นควรแถลงข้อเท็จจริงให้พิจารณาในประเด็นคำสั่งดังกล่าวต่อไป
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์โดย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีข้อโต้เถียงที่ดินเขากระโดง จะทำให้เกิดความระหองระแหงภายในพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ ว่า ไม่น่าจะมีปัญหา ทุกเรื่องเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นใครต้องว่ากันตามกฎหมาย ต้องดูรายละเอียดก่อนเพราะเรายังไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด ถ้าในข้อเท็จจริงและกฎหมายเป็นอย่างไร ต้องดำเนินการไปตามนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรที่กฎหมายกำหนดได้.
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ส่วน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ข้อขัดแย้งระหว่างกรมที่ดินกับรฟท. เรื่องการเพิกถอนสิทธิที่ดินเขากระโดง จะเป็นรอยร้าวระหว่างพรรคพท.กับพรรคภท.หรือไม่ว่า เป็นไปตามกฎหมาย และเป็นคดีความ ระหว่างกรมที่ดินกับ รฟท.ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ฝ่ายการเมืองที่พยายามไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว และไม่มีการสั่งการหรือข้อสั่งการ รวมไปถึงไม่มีความจำเป็น พี่ฝ่ายราชการจะต้องมารายงานเป็นประจำ ทุกอย่างมีขั้นตอน เมื่อถามต่อว่ากรณีที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายก ฯ รมว.คมนาคม ระบุว่าได้ให้ทาง รฟท. ทำหนังสือคัดค้านกรมที่ดิน และขอให้ศาลปกครอง สั่งบังคับการทำงานตามคำสั่งศาลนั้น นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ทำมาทั้งหมดนี้ ก็ทำตามคำสั่งศาลปกครอง ตั้งแต่ก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะเข้ามา พร้อมระบุว่าที่ตอบไม่ได้เต็มที่ เนื่องจากหากเข้าไปถามในรายละเอียด ก็จะมองว่าไปกดดัน ต้องรอดูเรื่องนี้จะจบอย่างไร เพราะต่างฝ่ายต่างก็อ้างข้อกฎหมาย และในท้ายที่สุดจะพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล เพราะที่ผ่านมาหลายคนก็มองว่า อำนาจในการต่อรอง ภท. อยู่เหนือ พท.
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ที่น่าสนใจคือคำแนะนำจาก นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังมีเรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา(เอ็มโอยู 2544) สามารถยกเลิกฝ่ายเดียวได้หรือไม่ โดยให้ความเห็นว่า ทำได้ แต่ควรหรือไม่ คือไม่ควร เนื่องจากมีผลกระทบมาก ต้องให้เกียรติกัน เราเริ่มมาด้วยกัน เวลาจะยกเลิก หลักการคือจะต้องพูดคุยกัน เมื่อถามต่อว่าการอ้างพื้นที่ทับซ้อนนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า เรื่องดินแดนทับซ้อนกันไม่ได้ ดินแดนใครดินแดนมัน แต่ในระหว่างเรากับประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่ที่ยังคุยกันไม่ตกลงว่าเป็นดินแดนของใคร จะใช้คำว่าทับซ้อนไม่ได้ มันผิด ต้องใช้คำว่าพื้นที่อ้างสิทธิ เพราะต่างคนต่างอ้าง ฉะนั้น เอ็มโอยูที่ทำขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่ได้บอกว่าอันนี้ของเรา อันนี้ของเขา แต่เป็นเรื่องที่เราตกลงกันว่าอันนี้เราจะคุยกันถึงแนวทางการกำหนดแนวเขตที่ชัดเจน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ เป็นเพียงกรอบการหารือ
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์เมื่อถามอีกว่าการใช้คำว่าพื้นที่ทับซ้อนในทางกฎหมายจะเสียเปรียบใช่หรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า ในกฎหมายระหว่างประเทศอาจมีผล ตนแนะนำให้สื่อมวลชนใช้คำว่าพื้นที่อ้างสิทธิ เพราะต่างคนต่างอ้าง ตอนนี้ยังไม่ได้มีของใครเป็นของใครแน่ จะแบ่งกันอย่างไร และการใช้คำว่าทับซ้อนตนคิดว่าไม่เป็นผลดีต่อประเทศในระยะยาว เนื่องจากจะมีคนเอาไปอ้างหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ต้องไปขึ้นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อวินิจฉัย ก็จะหยิบยกไปอ้างได้ แต่หากเราคุยกันเป็นพื้นที่ต่างคนต่างอ้างสิทธิ มองว่าเป็นประโยชน์กับประเทศมากกว่า และจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า ตนพูดในแง่ทางวิชาการ ไม่มีการเมือง ขณะที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ใช้คำว่าพื้นที่อ้างสิทธิมาตลอด ไม่เคยใช้คำว่าพื้นที่ทับซ้อน
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์ถือเป็นความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายรัฐบาล ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะให้ใช้คำว่า พื้นที่อ้างสิทธิ แทนพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา(เอ็มโอยู 2544) หากเราคุยกันเป็นพื้นที่ต่างคนต่างอ้างสิทธิ มองว่าเป็นประโยชน์กับประเทศมากกว่า และจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า ซึ่งพูดในแง่ทางวิชาการ นั่นหมายความว่า บันทึกดังกล่าวเป็นประโยชน์ เพราะเป็นกรอบในหาหารือ
เพื่อไทยquotลอยแพquotทักษิณquotเดลินิวส์