【pg neko slot】“ครูพี่เอ” รมช.ศธ. พาชม 2 โรงเรียนต้นแบบ“ เรียนดี มีความสุข” แห่งเมืองบุรีรัมย์ | เดลินิวส์
จะดีแค่ไหนถ้าลูกหลานของเราตื่นเช้าขึ้นมาแล้วกระตือรือร้นอยากรีบไปโรงเรียน กลับบ้านมาพร้อมรอยยิ้ม ไม่อิดออดที่จะทำการบ้าน มี Study-life balance ได้ทั้งเรียน ทั้งเล่นอย่างสมดุลกัน แถมยังมีผลการเรียนที่น่าชื่นใจ ฟังดูอาจจะเหมือนเป็นแค่ความฝัน เพราะภาพคุ้นตาที่เรามักเห็นกัน คือ เด็ก ๆ เคร่งเครียด กดดัน และอาจยังไม่สนุกกับการเรียนเท่าที่ควร
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์กระทรวงศึกษาธิการ โดย พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มองเห็น Pain point ดังกล่าว ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาไทย จึงได้ผุดนโยบายสุดเจ๋ง “เรียนดี มีความสุข” เพื่อให้การศึกษายุคใหม่ ทั้งได้ความรู้ ทั้งสนุก และส่งผลลัพธ์เชิงบวกกับผู้เรียน ซึ่งนับว่ามาถูกทางไม่น้อย เพราะทันที่ที่ประกาศนโยบายออกไป ก็ได้รับเสียงตอบรับดีเกินคาดจากโรงเรียนทั่วประเทศ และหลายๆ โรงเรียนก็ได้สร้างสรรค์รูปแบบและแนวทางการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายนี้ซึ่งหนึ่งในทางลัดที่มีประสิทธิภาพที่หลายๆ โรงเรียนใช้เป็นไกด์นำทางพาไปสู่เป้าหมาย คือ การหยิบยกผล
การประเมินคุณภาพภายนอกของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. มาปรับใช้ จนเกิดเป็นโมเดลใหม่ๆ และช่วยให้โรงเรียนมีมาตรฐานที่ดีขึ้น
และเพื่อพิสูจน์ว่าผลการประเมินคุณภาพภายนอกจะช่วยให้เป้าหมายเรียนดีมีความสุขเป็นจริงได้มากแค่ไหน วันนี้ นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือที่หลายๆ คนเรียกอย่างคุ้นเคยว่า ครูพี่เอ พร้อมด้วย ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สมศ. จึงอาสาพาลงพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ไปบุก โรงเรียนวัดบ้านปลัดปุ๊ก และ โรงเรียนสตึก 2โรงเรียนต้นแบบที่ได้นำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาและทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนของคำว่า “เรียนดี มีความสุข” ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์โรงเรียนวัดบ้านปลัดปุ๊ก จิ๋วแต่แจ๋ว ผู้ทลายข้อจำกัดพลิกโฉมจาก “ปรับปรุง” สู่ “ดีมาก”
แทบไม่น่าเชื่อว่าก่อนจะพลิกโฉมกลายมาเป็นโรงเรียนต้นแบบอย่างทุกวันนี้ โรงเรียนวัดบ้านปลัดปุ๊ก ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาส เคยตกที่นั่งลำบากมาก่อน เพราะเคยได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอยู่ในระดับต้อง “ปรับปรุง” แต่นั่นไม่ได้ทำให้เหล่าบรรดาคุณครูและนักเรียนเสียกำลังใจ แต่กลับมุ่งมั่นที่จะช่วยกันยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น โดยได้เข้าร่วม โครงการส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของ สมศ. ซึ่งทำให้โรงเรียนได้ทั้งความรู้ ทั้งแนวทางในการนำข้อเสนอแนะจากการประกันคุณภาพภายนอกไปปรับใช้พัฒนาโรงเรียนและผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการพัฒนาคุณภาพการเรียนการการสอน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ คุณธรรม การเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะชีวิต มีโครงการ “ชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” ในทุกระดับชั้น พร้อมทั้งยังจัดให้มีการแนะแนวและดูแลสุขภาพจิตของนักเรียน นอกจากนี้ยังมีโครงการ “หนึ่งสถานศึกษา หนึ่งอาชีพ หนึ่งผลิตภัณฑ์” ที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน สร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของชุมชน และปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืน
จากแนวทางดังกล่าวทำให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของโรงเรียนที่เรียกว่า PALADPUK Model (ปลัดปุ๊กโมเดล) ซึ่งเน้นแนวคิด “5 ร่วม” ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมชื่นชม ที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าปลื้มใจมากๆ เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนมีผลคะแนน O-NET เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีๆ แล้ว กิจกรรมต่างๆ ยังช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เพิ่มประสบการณ์ แต่ยังสร้างบรรยากาศแห่งความสุขทั้งในโรงเรียนและชุมชน
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์จากความสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้การประเมินคุณภาพภายนอกล่าสุดที่ผ่านมา โรงเรียนวัดบ้านปลัดปุ๊กมีผลการประกันคุณภาพภายนอกอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด พร้อมยังได้นำ PALADPUK Model มาจัดทำเป็น Best Practice เพื่อเผยแพร่และแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปยังโรงเรียนอื่นๆ และหลายๆ โรงเรียนที่นำไปประยุกต์ใช้ อย่างเช่นโรงเรียนวัดบ้านกะหาด โรงเรียนวัดบ้านกะชาย โรงเรียนบ้านตะโกตาเนตร ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่นมีผล O-NET สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พูดถึงโรงเรียนวัดบ้านปลัดปุ๊กอย่างภาคภูมิใจว่า“จากโรงเรียนที่เคยถูกประเมินว่าอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง แต่ในวันนี้โรงเรียนวัดบ้านปลัดปุ๊กได้ยกระดับขึ้นเป็น “ดีมาก” ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่าหากนำข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ไปปรับใช้อย่างจริงจัง แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขยายโอกาส หรือโรงเรียนที่เคยมีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง ก็สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ และสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดได้
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์และสิ่งที่เราภูมิใจยิ่งกว่าการได้เห็นผลการเรียนของเด็กๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น คือ การได้เห็นรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความสุขของพวกเขา และความร่วมแรงร่วมใจระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งทำให้โรงเรียนเป็นมากกว่าแค่สถานที่เรียนรู้ แต่คือบ้านหลังที่สองที่อบอุ่นที่ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน”
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์โรงเรียนสตึก ปั้นเยาวชนยุคดิจิทัล – สร้างทักษะคนแห่งอนาคต
อีกหนึ่งโรงเรียนที่น่าชื่นชมไม่แพ้กัน คือ โรงเรียนสตึก ซึ่งนำข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอกไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามนโยบายเรียนดี มีความสุข ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาจนทำให้เกิด SATUEK Model แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสถานศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ หรือการพัฒนาบุคลากร แต่ที่โดดเด่นสุดๆ คือ การพัฒนาผู้เรียนได้อย่างครบเครื่อง ทั้งด้านความเข้มข้นทางวิชาการและการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ซึ่งทำให้นักเรียนของที่นี่ไม่ใช่แค่มีผลการเรียนที่ดี โดยในปีการศึกษา 2565 นักเรียนทุกระดับชั้นมีเกรดเฉลี่ยอยู่ที่ 3.14 และผลทดสอบ
O-NET ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าภูมิใจ แต่เด็กๆ ยังเต็มไปด้วย Future Skills ทักษะที่ตอบโจทย์โลกอนาคต ไม่ว่าจะเป็น การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยี และที่โดดเด่นสุดๆ คือ ด้านการประดิษฐ์หุ่นยนต์ ซึ่งที่นี่มี “ห้องเรียนหุ่นยนต์” ที่เด็กๆ จะได้ทดลองออกแบบ เขียนโปรแกรม และสร้างหุ่นยนต์กันอย่างจริงจัง
สำหรับ SATUEK Model คือ กรอบแนวทางที่โรงเรียนสตึกใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ตอบโจทย์ “เรียนดี มีความสุข” ได้อย่างชัดเจน โดย S คือ Strategic Management การบริหารเชิงกลยุทธ์ A คือ Academic with Moral สนับสนุนการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรม T คือ Team Work เน้นการทำงานเป็นทีม U คือ Unity and Understanding สร้างความเป็นเอกภาพและความเข้าใจร่วมกันE คือ Evaluation การประเมินผล และ K คือ Knowledge Management การจัดการความรู้ ซึ่งโมเดลนี้ก็จะคล้ายๆ PALADPUK Model ตรงที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยมุ่งเป้าให้เกิดผลลัพธ์ 5G ได้แก่ Good Student: เด็กๆ เรียนดี มีความสุข Good Teacher: ครูเก่งและมีจิตวิญญาณความเป็นครู Good Management: การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล Good School: โรงเรียนมีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สากล และ Good Community ชุมชนมีความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุน ซึ่ง SATUEK Model ไม่ใช่แค่หลักการหรือทฤษฎี แต่สามารถนำมาจัดทำเป็น Best Practice ที่โรงเรียนอื่นๆ นำไปปรับใช้ได้ ซึ่งผลลัพธ์ไม่ใช่แค่ทำให้เด็กๆ เรียนดีขึ้น แต่ยังสร้างรอยยิ้มให้ทุกคนในโรงเรียน ตั้งแต่ครู นักเรียน ไปจนถึงผู้ปกครอง
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์นอกจาก SATUEK Model โรงเรียนยังต่อยอดไปสู่ SATUEK DECP Model ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านการประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน โดย D-Design คือ การออกแบบจินตนาการด้วยตนเอง E-Engineering คือ กระบวนการของวิศวกรรม C-Create คือ การคิดสร้างสรรค์ P-Program คือ การใช้โปรแกรมเขียนควบคุม พร้อมทั้งมีการจัดตั้ง “ชุมนุมหุ่นยนต์” สำหรับนักเรียนที่สนใจ โดยเปิดโอกาสให้ได้มาฝึกฝนทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ตั้งแต่การเรียนรู้พื้นฐานไปจนถึงการประดิษฐ์นวัตกรรมและสร้างสรรค์ชิ้นงานได้จริง ซึ่งไม่เพียงช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น แต่ยังสร้างความสุขจากการได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ ได้สนุกกับการได้ลงมือทำจริง และเห็นผลงานที่จับต้องได้ และที่สำคัญ ผลงานของน้องๆ เหล่านี้ยังกวาดรางวัลทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติมาแล้วมากมายสร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้ตั้งแต่โรงเรียน จังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศ
ครูพี่เอรมชศธพาชมโรงเรียนต้นแบบเรียนดีมีความสุขแห่งเมืองบุรีรัมย์เดลินิวส์“กระทรวงศึกษาธิการมีความมุ่งมั่น ตั้งใจอย่างมากที่จะสร้างผลลัพธ์ทางการศึกษาด้วยแนวคิด เรียนดีมีความสุข ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสที่ดีให้กับผู้เรียนทุกคน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและชนบท และมักประสบปัญหาขาดแคลน ทั้งงบประมาณ บุคลากร และทรัพยากรต่างๆ ดังนั้นจึงได้มอบนโยบายให้ สมศ. เร่งประเมินคุณภาพภายนอกกลุ่มโรงเรียนดังกล่าวก่อน เพื่อช่วยสะท้อนสภาพที่เป็นจริงของโรงเรียน ให้ทราบถึงจุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง ตลอดจนแนะนำแนวทางการพัฒนา พร้อมส่งเสริมและผลักดันให้มีการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปปรับใช้และติดตามผลอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยให้โรงเรียนสามารถแก้ปัญหา พัฒนา และยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นได้ เพราะท่าน รมว.ศธ. ย้ำไว้เสมอว่า เราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดังนั้น แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนขยายโอกาสก็ต้องให้ความสำคัญ เพราะกลุ่มโรงเรียนดังกล่าว แม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกลและทุรกันดาร แต่ก็มีจุดเด่นอยู่ที่ความใกล้ชิดกับชุมชน ทำให้สามารถเข้าใจบริบทและความต้องการของผู้เรียนได้อย่างลึกซึ้งและสามารถปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ และที่สำคัญคือใกล้บ้าน ซึ่งเชื่อว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็คงไม่ต้องการให้ลูกหลานไปเรียนไกลหูไกลตา ดังนั้น
หากทุกฝ่ายช่วยกันดูแลพัฒนาโรงเรียน ทำงานร่วมกันตามแนวทาง“จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน” ไม่ว่าจะเรียนที่ไหน เด็กก็จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั้งเรียนดี และมีความสุขได้ไม่ยาก” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสรุป
ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนต้นแบบทั้งสองแห่งนี้ นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่สะท้อนให้เห็นว่า “การประเมินคุณภาพภายนอก” ไม่ได้น่ากลัว ไม่ใช่ภาระ และไม่ใช่การจับผิด หรือตัดสินใคร แต่คือการสร้างแรงผลักดันการแนะแนวทาง และจับมือกันพัฒนา เพื่อให้สถานศึกษาเดินหน้าพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีทิศทาง พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหากสถานศึกษาทุกแห่งเข้ารับการประเมินและนำผลการประเมิน
ไปประยุกต์ใช้ ความหวังที่จะได้เห็นมิติใหม่ของการศึกษาไทยและบรรลุตามเป้าหมาย “เรียนดี มีความสุข” จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน