【โปรแกรม 18】พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิต ‘ห้วยหนามตะเข้’ ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น | เดลินิวส์

สร้าง “เม็ดเงิน” จากการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นจริงได้ ความสำเร็จของธนาคารต้นไม้บ้านห้วยหนามตะเข้ ต.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เป็นตัวอย่างของการพัฒนาชุมชนภายใต้การอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างคนกับป่า จนนำไปสู่ประโยชน์ภาพรวมของสิ่งแวดล้อมที่ดี มีระบบนิเวศที่ยั่งยืนเกิดขึ้นในพื้นที่

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

จากแนวคิด “ธนาคารต้นไม้” ที่วางเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนปลูกต้นไม้ ไม่ว่าไม้มีค่าเชิงเศรษฐกิจ อาทิ ไม้สัก ไม้พะยูง หรือในเชิงสิ่งแวดล้อม เช่น ต้นไม้ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่สี สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลพลอยได้สำคัญคือการสร้างรายได้ระยะยาว จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

“จุดแข็ง” ของธนาคารต้นไม้บ้านห้วยหนามตะเข้คือการใช้ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ผสานเข้ากับการลงมือร่วมใจของคนในชุมชน ผ่านการปลูกและดูแลต้นไม้ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศของ จ.อุทัยธานี การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นไม้ในทุกมิติ รวมถึงการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจ เช่น การค้ำประกันสินเชื่อในอนาคต

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

นอกจากสามารถขายคาร์บอนเครดิต ปัจจุบันชุมชนบ้านห้วยหนามตะเข้ยังยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ฟาร์มเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

ความรู้สึกของคนในชุมชนต่างมุ่งหวังไปในทิศทางเดียวกันคือ ลดการพึ่งพิงป่า และพึ่งพาตัวเองให้ได้ ภายใต้การจับมือกันร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการบริหารจัดการป่าชุมชน

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

ภาพสะท้อนความสมบูรณ์จากการได้รับการดูแลอย่างดีจากชุมชน ส่งผลให้ในพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และ “จุดเด่น” สำคัญคือภูมิปัญญาด้าน “สมุนไพร”

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

ทั้งนี้ ชุมชนบ้านห้วยหนามตะเข้มีการใช้สมุนไพรในหลากรูปแบบ ทั้งเพื่อการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค และการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ยกตัวอย่าง

“ยาสมุนไพรพื้นบ้าน” สำหรับใช้รักษาอาการป่วย เช่น ยาหอม ยาแก้ปวดเมื่อย
“ผลิตภัณฑ์แปรรูป” เช่น น้ำมันหอมระเหย สบู่สมุนไพร ยาดม และชาสมุนไพร
“การฟื้นฟูสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น” เช่น การอบไอน้ำสมุนไพร การประคบสมุนไพร

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

สำหรับตัวอย่างสมุนไพรพื้นถิ่นที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่

1. กระชายดำ-บำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย
2. ฟ้าทะลายโจร-รักษาอาการหวัด เสริมภูมิคุ้มกัน
3. ไพล-แก้ปวด ลดการอักเสบ ใช้ในผลิตภัณฑ์ประคบสมุนไพร
4. ขมิ้นชัน-ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร และบำรุงผิวพรรณ
และ 5. เปลือกต้นไม้พื้นเมือง เช่น เปลือกต้นตะเคียนหรือมะคำไก่ มีสรรพคุณในการฟอกเลือดและบำรุงร่างกาย

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม ชุมชนยังมีแนวคิดถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้วยการจัดอบรม พร้อมผลักดันกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านสมุนไพร เช่น การปลูกสมุนไพรในครัวเรือน การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างรายได้ไปยังนักท่องเที่ยวและคนรุ่นใหม่ที่มาเยือนด้วย

พัฒนาคาร์บอนเครดิตยกระดับชีวิตห้วยหนามตะเข้ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเดลินิวส์