【สปอร์ต พ】ผู้เชี่ยวชาญรวมตัว ต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยู ไทย-กัมพูชา ทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤต!! | เดลินิวส์

งานสัมมนา “พลังงานราคาถูก ทางรอดเศรษฐกิจไทย” ที่จัดโดยฐานเศรษฐกิจ มีผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานมาร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานของประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างหนัก โดยเฉพาะปัญหาปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้าในปริมาณมากขึ้น ซึ่งมีราคาผันผวนสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าของผู้บริโภค ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเจรจา เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่ทั้งสองประเทศได้ลงนามร่วมกัน เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติภายในประเทศ และลดการพึ่งพาการนำเข้า จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ที่สำคัญยังช่วยแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพงอีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

“ดร.คุรุจิต นาครทรรพ” ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมและพลังงานแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติพลังงานจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ในราคาสูงขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าพุ่งและกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งดำเนินการหลายด้าน เช่น การเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ การบริหารจัดการแหล่งก๊าซที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญที่สุดคือการเร่งเจรจาเพื่อหาข้อยุติในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา หรือโอซีเอ ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณก๊าซสำรองจำนวนมาก หากสามารถพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ จะช่วยลดการพึ่งพาก๊าซนำเข้าและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

ดร.คุรุจิต กล่าวต่อไปว่า การเจรจาโอซีเอ ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ ปี 2544 จะเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดทางสู่การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าว โดยขณะนี้ทั้งสองประเทศกำลังเจรจากำหนดเส้นแบ่งเขตทางทะเล และวางหลักการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกัน หากการเจรจาประสบความสำเร็จ จะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย เพราะจะช่วยลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน และสร้างรายได้ให้กับประเทศในระยะยาว นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่มีอยู่เดิมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเจรจาเรื่องโอซีเอ เพื่อนำทรัพยากรพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมยังเรียกร้องให้รัฐบาลปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าให้มีความแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดประมูลสัญญาซื้อไฟฟ้าอย่างโปร่งใส และการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศควรทำผ่านระบบประมูล เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาลให้การสนับสนุนพลังงานสำหรับกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ แทนการอุดหนุนพลังงานแบบเหมารวม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกลไกตลาด

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

ด้าน “สาร์รัฐ ประกอบชาติ” รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ระบุว่า แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติของประเทศยังไม่ได้รวมปัจจัยจากการฟื้นฟูการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (โอซีเอ) เข้ามาพิจารณา แม้ว่าการเจรจาจะสำเร็จจะส่งผลดีต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศก็ตาม โดยระบุว่าปัจจุบันดีมานด์ก๊าซธรรมชาติของไทยยังคงทรงตัว แต่ซัพพลายมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงมากกว่า หากการเจรจาโอซีเอ มีความชัดเจน จะช่วยให้เรากำหนดแผนพลังงานในระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น เพราะก๊าซธรรมชาติที่เราต้องการคือ ก๊าซที่มีราคาไม่สูงและไม่ผันผวน ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าที่มีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 2% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

“ดร.อารีพร อัศวินพงศ์พันธ์” นักวิชาการด้านนโยบายพลังงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ชี้ว่า การพัฒนาแหล่งก๊าซในพื้นที่โอซีเอ เป็นทางออกสำคัญในการรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด เนื่องจากปริมาณก๊าซในอ่าวไทยลดลง ขณะที่การนำเข้าแอลเอ็นจี มีต้นทุนสูง การพัฒนาโอซีเอ จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้า และสร้างความมั่นคงด้านราคาได้

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

“วุฒิกร สติฐิต” ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ยังคงมีความสำคัญต่อระบบพลังงานโลก และมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากกัมพูชาตามเอ็มโอยู 44 ได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมาก โดยไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและประสบการณ์มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ปิโตรเลียมกับกัมพูชาจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน เนื่องจากแอลเอ็นจี ถือเป็นทางเลือกที่พร้อมใช้งานได้ทันที และการได้แหล่งผลิตใหม่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสองประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

เช่นเดียวกันกับ “อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต” รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยํ้าถึงความสำคัญ
ของการเร่งเจรจาพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา (โอซีเอ) มองว่าปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอยู่ในภาวะที่ดี นอกจากนี้ การพัฒนาโอซีเอ ยังจะช่วยลดต้นทุนพลังงานของประเทศได้อย่างมาก ทั้งยังเห็นว่าการเจรจาควรดำเนินการโดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและมีความต่อเนื่อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการเจรจา และควรมีการสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจนไปยังประชาชนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมี “สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี” นักวิชาการอิสระ ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา โดยชี้ว่าการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจปี 2544 ควรมีการเจรจาต่อเนื่องเพื่อแบ่งเขตแดนทางทะเลและจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม โดยยึดหลักความเป็นกลางและหลีกเลี่ยงแนวคิดชาตินิยม อีกทั้งยังเสนอให้ทั้งสองประเทศร่วมกันสร้างความเข้าใจอันดีแก่ประชาชน โดยให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาทรัพยากรร่วมกัน เพื่อลดความตึงเครียดทางการเมืองและสร้างความร่วมมือที่ดีขึ้น.

ผู้เชี่ยวชาญรวมตัวต้องเร่งเจรจาเอ็มโอยูไทยกัมพูชาทางรอดก่อนพลังงานไทยยิ่งวิกฤตเดลินิวส์