【4x4 angels】‘NCDs’ ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคล แต่เกี่ยวโยง ‘สภาพแวดล้อมทุกมิติ’ ปรับ Ecosystem สร้างสุขภาพดีคือทางออก | เดลินิวส์
การขับเคลื่อนเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแม่งานหลัก ดูเหมือนว่าอาจยังไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายใหญ่นี้ได้ เห็นได้จากจำนวนผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ที่มากกว่า 4 แสนรายต่อปีในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เวทีเสวนาย่อยในหัวข้อ “การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ NCDs Ecosystem” ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์ ระหว่างวันที่ 27 28 พ.ย. 2567 ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ภายใต้ธีม “เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างสุขภาวะไทยยั่งยืน” ได้มีการชี้ให้เห็นถึงหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา NCDs ให้ได้
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์ดร.เพ็ญ สุขมาก“การจัดการโรค NCDs ในระดับบุคคลอาจไม่สำเร็จได้ เพราะสภาพแวดล้อมของชุมชน สังคม เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อโรค NCDs เพราะเป็นโรคที่เชื่อมโยงไปถึงทุกมิติอื่นๆ ในสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ รายได้ การศึกษา การคมนาคมขนส่ง ซึ่งมิติอื่นๆ ในสังคมเหล่านี้ ล้วนแต่สามารถเข้าไปจัดการ หรือออกแบบได้เพื่อลดความเสี่ยงของโรค NCDs ในพื้นที่ของตนเอง” ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวในช่วงหนึ่งของงานเสวนา ซึ่งตอบคำถามข้างต้นได้อย่างชัดเจน
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์ดังนั้นการจะลดโรค NCDs ได้ ทุกฝ่ายที่ดำเนินการอยู่อย่างกระจัดกระจายต้องมาสานพลังดำเนินการร่วมกัน อย่างการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็จะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างมากต่อการจัดการพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชน ไม่ว่าจะทำให้ประชาชนได้มีกิจกรรมทางกาย ผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ของประชาชนในทุกกลุ่มวัยอย่างเท่าเทียม หรือออกแบบกิจกรรมทางกายในย่านเศรษฐกิจ
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์“สถาบันนโยบายสาธารณะเองก็ได้เข้าไปหนุนเสริมความร่วมมือในพื้นที่ โดยเฉพาะกับภาคส่วนท้องถิ่นในแสวงหาความเห็นความต้องการของชุมชน รูปแบบการจัดการที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการออกแบบพื้นที่สาธารณะ ทำให้ท้ายสุดทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ได้มาใช้ประโยชน์ ซึ่ง อปท. ทั่วประเทศสามารถทำได้ โดยศึกษาตัวอย่างจากหลายพื้นที่ที่ขับเคลื่อนไปก่อนแล้ว เพื่อเป็นตัวอย่าง” ดร.เพ็ญ กล่าว
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์นพ.กฤษฎา หาญบรรเจิดแน่นอนว่า สธ. เองก็เห็นเช่นกันว่า NCDs เป็นปัญหาสุขภาพที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา นพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สธ. กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมากองโรคไม่ติดต่อฯ ก็มีการประสานกับทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้ร่วมกันขับเคลื่อนตามแผนดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์รวมถึงนำแผนมาผนวกรวมกันเป็นยุทธศาสตร์สำหรับโรค NCDs ในระดับประเทศ บนเป้าหมายร่วมกันคือการมีวิสัยทัศน์ระดับนโยบาย ที่นำไปสู่ศักยภาพในการจัดการโรค ซึ่งแผนปัจจุบันเป็นแผนดำเนินการปี 2566 2570 ที่มุ่งเน้น 3 ด้าน คือ 1. บูรณาการทำงานทุกภาคส่วน 2. ให้ความสำคัญกับการเสริมความรู้ด้านโรค NCDs ของประชาชน และกระตุ้นให้มีพฤติกรรมลดโรค NCDs และ 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม สร้างระบบ Ecosystem ในภาพรวมของประเทศ ที่เอื้อต่อการควบคุม และป้องกันโรค NCDs
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์ในส่วนตัวชี้วัดที่จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพของการดำเนินการตามแผน มีการตั้งเป้าหมาย 4 ด้านเพื่อชี้วัดความสำเร็จให้ได้ภายในปี 2570 คือ 1. ลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ช่วงอายุ 30 70 จากโรค NCDs ต้องลดลง 25% หรือมีค่าเป้าหมาย 11% 2. ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 18 ต้องลดลง 25% หรือมีค่าเป้าหมาย 16.95% 3. ความชุกของโรคเบาหวาน กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไม่เพิ่มขึ้น หรือมีค่าเป้าหมาย 7.30% และ 4. ความชุกโรคอ้วน ในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องไม่เพิ่มขึ้น หรือมีค่าเป้าหมาย 36.20%
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์ดร.ธีร์ ภวังคนันท์นอกจากนี้ ปัจจุบันหลายภาคส่วนก็เข้าใจถึงการต้องผสานความร่วมมือกัน และยื่นมือมาร่วมดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่นภาคส่วนการศึกษาที่ร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย โดย ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดแนวทางมุ่งเน้นลดโรค NCDs และลดความเสี่ยงของโรคในกลุ่มนักเรียนด้วยการสนับสนุนโรงเรียนปลอดภัยในทุกมิติ
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์ทั้งนี้ ผ่านมาตรการที่เรียกว่า 3 ป. คือ 1. ป้องกัน ด้วยการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค NCDs พร้อมกับวางมาตรการและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในโรงเรียน และภาคส่วนอื่นในพื้นที่ 2. ปลูกฝัง ด้วยการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ที่มุ่งเน้นเรื่องของโรค NCDs ให้เด็กได้เรียนรู้และดูแลตัวเองได้ต่อไปในอนาคต และ 3. ปราบปราม ช่วยเหลือ และเยียวยา
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์ดร.อรทัย วลีวงศ์ขณะที่หน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนในการลด NCDs ด้วยการเป็นพื้นที่กลางในการสร้างการมีส่วนร่วมอย่าง สช. ทาง ดร.อรทัย วลีวงศ์ คณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะ ว่าด้วยการสานพลังสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ บอกว่า ช่วงที่ผ่านมา สช. และภาคีเครือข่ายสมาชิกสมัชชาสุขภาพ ได้ร่วมกันขับเคลื่อน มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยการสานพลังสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรค NCDs เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน 5 เรื่องที่เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบด้วย 1. ลดการดื่มเหล้า 2. ลดการสูบบุหรี่ 3. ลดการกินอาหารไม่เหมาะสม 4. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกาย และ 5. จัดการปัญหามลพิษทางอากาศ
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์สำหรับมาตรการที่เห็นตรงกันว่าต้องสานพลังเพื่อจัดการปัจจัย 5 ด้าน ก็มีเครื่องมือ 5 อย่างที่ทุกภาคส่วนจะใช้สานพลังและขับเคลื่อนร่วมกัน คือ 1. ร่วมกันจัดระเบียบสังคม ลดการเข้าถึงสินค้า ผลิตภัณฑ์ และอาหาร ที่อันตรายต่อสุขภาพ 2. ร่วมกันส่งเสริมการผลิต พัฒนามาตรฐานสินค้า และอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 3. เพิ่มการเข้าถึงของประชาชนในสินค้าที่เป็นประโยชน์ ปลอดสารพิษราคาถูก 4. สร้างความตระหนักรู้ และเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 5. สร้างกิจกรรมที่ประชาชนได้รับประสบการณ์สุขภาพดี กระตุ้นการอยากมีสุขภาพที่ดี และเพิ่มเติมกิจกรรมทางกายให้มากขึ้น
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์“ในปี 2568 สช. และภาคี จะร่วมกับภาคีระดับพื้นที่ อาทิ สมัชชาสุขภาพจังหวัด อบจ. สสจ. ใน 8 จังหวัด ดำเนินมาตรการสร้าง Ecosystem เพื่อลด NCDs หากทุกพื้นที่ให้ความสำคัญและขับเคลื่อนอย่างพร้อมเพียงพร้อมกับได้ผลลัพธ์ที่ดี ก็จะทำให้เกิดการขยับขับเคลื่อนในการสร้างนโยบายจากระดับพื้นที่ ไปสู่ระดับชาติที่เป็นภาพรวมของประเทศ ซึ่งผลการขับเคลื่อนดำเนินการ จะมีการรายงานผลความคืบหน้าในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในทุกๆ ปี เป็นเวลา 3 ปี หรือไปจนถึงปี 2570 ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้น เราอาจได้เห็นภาพความสำเร็จจากหลายพื้นที่ และได้ระบบ กระบวนการขับเคลื่อนที่ชัดเจนนำไปสู่พื้นที่อื่นๆ” ดร.อรทัย อธิบายถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคลแต่เกี่ยวโยงสภาพแวดล้อมทุกมิติปรับEcosystemสร้างสุขภาพดีคือทางออกเดลินิวส์