【ยิงปลาเครดิตฟรี】ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน ‘พลัดตกหกล้ม’ 10-11 ก.ย.นี้ กับ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย | เดลินิวส์
เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ด้วยแล้ว การดูแล “ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพึง” เป็นโจทย์ตัวโตที่ต้องร่วมกันแสวงหาคำตอบ
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์ทั้งที่สามารถป้องกันได้ ทว่าปัญหา “พลัด-ตก-หก-ล้ม” ก็ยังเป็นหนึ่งในภัยสุขภาพที่แฝงอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในแต่ละวัน และเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง ที่สัมพันธ์กับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์ขนาดของปัญหาจากการ “พลัดตกหกล้ม” จึงกว้างขวาง สร้างความเสียหายทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และประเทศ อย่างรุนแรง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปี 2565 ระบุว่า มีผู้ป่วยใน (IPD) จากการพลัดตกหกล้มสูงถึง 9 หมื่นคน และมีผู้ที่พลัดตกหกล้มเป็นประจำ เฉลี่ยปีละ 3 ล้านคน
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค พบว่า มีคนไทยเสียชีวิตจากพลัดตกหกล้ม สูงถึงปีละ 1,600 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ (Unintentional) รองจากอุบัติเหตุทางถนน บางครัวเรือนขาดรายได้เพราะต้องดูแลผู้ป่วย มีค่าใช้ทางตรงและทางอ้อมในการดูแลเฉลี่ย 1.2 ล้านบาท ปัจจุบันรัฐจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยพลัดตกหกล้มปีละ 1,500 ล้านบาท
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์นี่คือน้ำหนักที่กำลังกดทับประเทศไทย และเป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแก้ไข
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์รศ.ดร.ม.ล.พินิตพันธุ์ บริพัตร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น สาเหตุของการพลัดตกหกล้มมีตั้งแต่การลื่น สะดุด ไปจนถึงภาวะมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง ตลอดจนผลกระทบจากการรับประทานยารักษาโรค ฯลฯ ซึ่งนอกจากการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตแล้ว การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นมาตรการที่สำคัญและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์มากไปกว่านั้น ปัจจุบันมีข้อมูลทางวิชาการและงานวิจัยที่เข้ามาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาพลัดตกหกล้ม ซึ่งฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีบุคลากร คณาจารย์ และเครือข่ายนักวิจัย ที่ได้ทำการศึกษาและต่อยอดงานวิจัยไปสู่การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมจำนวนมาก เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสังคมไทยรับมือกับสังคมสูงวัยและปัญหาพลัดตกหกล้ม
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์สอดรับกับวาระครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน ธรรมศาสตร์จึงได้ประสานความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัด “มหกรรมงานวิจัย 90 ปี นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน” ขึ้น ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bacc) ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2567 เวลา 10.00-16.00 น.
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์ภายในมีการจัดแสดง “7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัย” ภายใต้ธีม “ร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกัน พลัดตกหกล้ม” พร้อมกับมอบนวัตกรรมธรรมศาสตร์ “อุปกรณ์ออกกำลังกายและฟื้นฟูสำหรับการฝึกลุกยืนสำหรับผู้สูงอายุ” (Sit to Stand Trainer) ให้กับ กทม. เพื่อนำไปให้บริการประชาชนต่อไป
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์สำหรับ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัย ที่นำมาจัดแสดง ประกอบด้วย 1. เภสัชพันธุศาสตร์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีและมาลาเรีย เพื่อนำไปสู่การแพทย์แม่นยำระดับประชากรและผู้ป่วยเฉพาะราย โดย ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์2. โปรแกรมวิจัยชั้นแนวหน้าด้านวิศวกรรมการแพทย์ ระดับ World Class โดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3.อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขน แบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตรสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดย ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์4. บ้านแสนอยู่ดี 100,000 UD HOUSE สำหรับผู้สูงอายุที่มีความพิการ ของหน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล โดย รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง 5. อุปกรณ์ตรวจวัดมุมการเปลี่ยนแปลงการทรงตัวและแจ้งเตือนก่อนสูญเสียการทรงตัว โดย รศ.ดร.ไพลวรรณ สัทธานนท์ คณะสหเวชศาสตร์ 6. เตียงพลิกตัวอัตโนมัติป้องกันแผลกดทับ โดย รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สนธิยมาส คณะพยาบาลศาสตร์7. เอไอเชสฟอร์ออล (AIChest4All) โดย ศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์นอกจากนี้ ภายในงานเดียวกัน ยังมีกิจกรรมการเสวนาที่น่าสนใจอีก 2 เวที คือ 1. เวทีการพูดคุยถึงการเจาะลึกและพัฒนานวัตกรรม โดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิจัยที่คว้ารางวัลวิชาการระดับโลกจำนวนมาก และ ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2564 และ 2. เวทีฉายภาพสถานการณ์พลัดตกหกล้ม โดย รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ กทม. ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์ทางด้าน รศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปี หลังจากนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน จะให้ความสำคัญกับปัญหา “พลัดตกหกล้ม” และจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ตลอดจนร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้น้ำหนักกับการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม และเป็นที่พึ่งพิงแก่ประชาชน ผ่านการบริการวิชาการและการให้บริการสังคม
ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มกยนี้กับนวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อสังคมสูงวัยเดลินิวส์