【ดูกอล์ฟฟรี】กรณีศึกษาSMEขนมหวาน'ปรับตัวคือกุญแจความสำเร็จ' | เดลินิวส์
หัวใจสำคัญการทำธุรกิจ คือ “ความสามารถในการปรับตัว” เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเสมอ โดยถ้าผู้ประกอบการรู้จักปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลง ก็จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ธุรกิจได้ ซึ่งวันนี้คอลัมน์นี้มีกรณีศึกษามาให้พิจารณากัน
กรณีศึกษาSMEขนมหวานปรับตัวคือกุญแจความสำเร็จเดลินิวส์เริ่มจาก ก้องปพัฒน์ เรืองจินดาชัยกิจ จากแบรนด์แม่สุนีย์ขนมไทยที่โด่งดังจากขนมเปียกปูนกะทิสด ที่ปรับตัวทั้งในแง่กลยุทธ์การตลาดกับพัฒนาแพ็กเกจจิ้งใหม่ให้ทานขนมได้ง่ายและสะดวกขึ้น กับมีรูปลักษณ์ที่ดูสวยงาม จนอยากถ่ายรูปและแชร์ภาพคู่ขนมลงโซเชียล ที่เป็นการปรับตัวให้สินค้าตอบโจทย์ลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งเจน Y และเจน Z ซึ่งมีพฤติกรรมชอบถ่ายรูปโพสต์ลงสังคมออนน์ จนทำให้ฐานลูกค้าขยายไปยังกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-25 ปีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เจ้าของแบรนด์บอกว่า ตัดสินใจปรับตัวหลังได้ฟีดแบ็กว่า คนรุ่นใหม่หลายคนไม่รู้จักหรือเคยเห็นสินค้าของตน ส่วนหนึ่งเพราะแพ็กเกจไม่สะดุดตา จึงปรึกษากับทางเซเว่นเพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ โดยปรับปรุง 3 ส่วนคือ 1.ปรับรสชาติ ให้กลมกล่อมมากขึ้น 2.ปรับขนาดสินค้า จากเดิมเป็นถาด 4 ช่องมาเป็นถ้วยสี่เหลี่ยมใสทรงสูงเพื่อให้สะดวกต่อการถือทาน และ 3.ปรับแพ็กเก็จจิ้ง ให้ดูพรีเมียมยิ่งขึ้น
กรณีศึกษาSMEขนมหวานปรับตัวคือกุญแจความสำเร็จเดลินิวส์ก้องปพัฒน์ เรืองจินดาชัยกิจ / ปมิตตา แต้มไพโรจน์ / ภาณุวัฒก์ เงินศรีสุข
กรณีศึกษาSMEขนมหวานปรับตัวคือกุญแจความสำเร็จเดลินิวส์ต่อมาคือ กรณีศึกษาของ ปมิตตา แต้มไพโรจน์ เจ้าของแบรนด์ขนมแม่อิม เอสเอ็มอีตัวตึงของวงการขนมไทยอีกหนึ่งคน ที่โด่งดังจากขนมเต้มทึงน้ำลำไยซึ่งพัฒนาสูตรขึ้นมาเพื่อกลุ่มลูกค้าค้ารุ่นใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งเล่าว่าเดิมทีเครื่องที่ใส่ในเต้าทึง มักจะเป็นพุทราเชื่อม รากบัว แปะก๊วย ซึ่งอาจไม่ค่อยถูกปากคนรุ่นใหม่นัก จึงขอรับคำปรึกษาจากเซเว่นจนออกมาเป็นเต้าทึงที่ทานง่ายมากขึ้น 5 ชนิด คือ มัน เฉาก๊วย วุ้น เนื้อลำไย เส้นโบ๊กเกี้ย ซึ่งเป็นเส้นที่คิดค้นสูตรแป้งใหม่ไม่ให้แข็งเวลาแช่ ที่สำคัญยังปรับสูตรน้ำลำไยให้ไม่หวานเกินไป ที่สามารถทานหมดได้ในครั้งเดียว และเก็บในตู้เย็นได้ถึง 10 วัน โดยขนมที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ ก็ถือเป็นอีกตัวอย่างที่ดีของการปรับตัว และความกล้าที่จะลองอะไรใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากกรอบเดิม ๆ อีกด้วย
กรณีศึกษาSMEขนมหวานปรับตัวคือกุญแจความสำเร็จเดลินิวส์สุดท้ายได้แก่ ภาณุวัฒก์ เงินศรีสุข เจ้าของแบรนด์ขนมบ้านทองหยอด ที่ปรับปรุงพัฒนาขนมหวานบนโต๊ะจีนอย่างโอนีแป๊ะก๊วยกับเผือกกวน ด้วยการนำขนมทั้งสองชนิดมามิกซ์แอนด์แมทช์กันจนเกิดเป็นสินค้าใหม่ โดยเจ้าของสินค้าเล่าว่าจุดเริ่มต้นมาจากโอนีแปะก๊วยบนโต๊ะจีน แต่เนื่องจากขนมดังกล่าวไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในมคนรุ่นใหม่ ประกอบกับผลสำรวจสินค้าเผือกกวนเดิมของตนเองพบว่าผู้บริโภคอยากให้เผือกนุ่มกว่านี้ อีกทั้งทางเซเว่นก็แนะนำให้ต่อยอดสินค้าเดิมจึงนำเผือกกวนมาต่อยอดกับโอนีแป๊ะก๊วย โดยได้มีการปรับสูตรเผือกกวนให้นุ่มมากขึ้น กับเพิ่มแปะก๊วยเข้าไปเพื่อให้อารมณ์เหมือนทานโอนีแปะก๊วย แต่จะลดความหวานลงเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ นี่เป็นกรณีศึกษาจากธุรกิจขนมรายนี้ และจากกรณีศึกษาของผู้ประกอบการทั้งสามรายนี้ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ โดยมีกุญแจที่ไขไปสู่ความสำเร็จจากคีย์เวิร์ดว่า “ปรับตัว” นั่นเอง ที่เอสเอ็มอีอื่น ๆ ก็สามารถนำแนวทางจากเอสเอ็มอีตัวตึงเหล่านี้ไปปรับใช้ได้.
กรณีศึกษาSMEขนมหวานปรับตัวคือกุญแจความสำเร็จเดลินิวส์ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ [email protected]
กรณีศึกษาSMEขนมหวานปรับตัวคือกุญแจความสำเร็จเดลินิวส์