【slotxobet】สอนอะไรกันบ้าง! เปิดหัวข้ออบรมเวชศาสตร์ฟุตบอล ที่เอเอฟซีส่งวิทยากรมาติวในไทย | เดลินิวส์
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 67 มาดามแป้ง นางนวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ เป็นประธานเปิดการอบรมให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์ฟุตบอล ในโครงการ AFC Football Emergency Medicine and Anti-Doping Regional Course (ASEAN East) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ เอเอฟซี กับ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลกรุงเทพ มีทีมแพทย์ของทีมชาติไทย และสโมสรไทยลีก ส่งบุคลากรเข้าร่วม กว่า 50 คน การอบรมมีระหว่างวันที่ 23-26 พ.ย. 67 มี ดาโต๊ะ ดร.กุรชารัน ซิงห์ ประธานคณะกรรมการฝ่ายแพทย์สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย พร้อมด้วย วิทยากรทางการแพทย์ของ เอเอฟซี รวมทั้งฝ่ายแพทย์ของสมาคมลูกหนังไทย ร่วมให้ความรู้
สอนอะไรกันบ้างเปิดหัวข้ออบรมเวชศาสตร์ฟุตบอลที่เอเอฟซีส่งวิทยากรมาติวในไทยเดลินิวส์หัวข้อการอบรมหลักๆ ดังนี้
สอนอะไรกันบ้างเปิดหัวข้ออบรมเวชศาสตร์ฟุตบอลที่เอเอฟซีส่งวิทยากรมาติวในไทยเดลินิวส์วันที่ 1
1. ภาพรวมเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฟุตบอลในทวีปเอเชีย
2. แนวทางบูรณาการในการตรวจประเมิน
3. ภาวะฉุกเฉิน-ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (SCA)
4. การดำเนินการในภาวะฉุกเฉิน และการเฝ้าระวัง
5. สาธิตการทำ CPR (การปั๊มหัวใจเพื่อกู้ชีพ) และการใช้เครื่องมือ AED (เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ)
วันที่ 2
1. ฟุตบอลในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม (ร้อนจัด-หนาวจัด)
2. โภชนาการสำหรับนักฟุตบอล
3. ความแตกต่างทางเพศของฟุตบอล
4. การเดินทางกับทีมฟุตบอล-ภาวะเจ็ตแล็ก, การใช้เมลาโทนิน และความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง
5. การกระทบกระเทือนทางสมอง จากเหตุการณ์ในสนาม
6. ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ (EIA ภาวะหอบหืดจากการออกกำลังกาย, การสำลัก, ภาวะการแพ้อย่างรุนแรง, อาการชักและอื่นๆ)
7 .การดำเนินการ และการจัดเตรียมการตรวจการใช้ยาและสารกระตุ้นในการแข่งขัน
8 .การแสดงวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินกระดูกสันหลังระดับต้นคอ, การใส่คอลลาร์, การทำล็อกโรล รวมถึงภาวะนอนคว่ำหน้า
วันที่ 3
1. PCMA (แบบตรวจประเมินทางการแพทย์ก่อนการแข่งขัน)
2. มลพิษทางอากาศที่มีส่วนกับการเล่นฟุตบอล
3. การป้องกันอาการบาดเจ็บ (แบบอบอุ่นร่างกาย ฟีฟ่า 11+)
4. การบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อในสนาม, ภาวะกระดูกหัก
5. ภาวะการบาดเจ็บ-แผล
6. การดูแลนักฟุตบอลหญิง
7. การรักษาแบบทางเลือก
8. การสาธิตวิธีการที่ถูกต้อง สำหรับอุบัติเหตุบริเวณที่ศีรษะ และใบหน้า, อก, ลำตัว และ สะโพก
วันที่ 4
1. วิวัฒนาการของการต่อต้านการป้องกันการใช้สารกระตุ้น
2. รายชื่อสารต้องห้าม วิธีการและการตรวจสารกระตุ้น
3. แบบฟอร์มขออนุญาตการใช้ยาเพื่อการรักษา (TUE)
4. บทนำสู่ระบบการควบคุมการใช้สารกระตุ้นแบบดิจิทัล
5. Biological Passport (ABP) การตรวจสารกระตุ้นแบบละเอียด
6. การตรวจสารกระตุ้นด้วยปัสสาวะ, เลือด (ตรวจเส้นเลือดดำและ DBS)