【ผลอังกฤษย้อนหลัง】สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติ ต่อยอดสร้างสรรค์ ‘นวัตกรรมสี’ | เดลินิวส์

สีสวยหลากเฉดสีทั้งจากใบไม้ รากไม้ จากพืชใกล้ตัว หรือวัสดุเหลือใช้เหลือทิ้งการเกษตร ฯลฯ แต่ละชนิดบอกเล่าความงามเฉพาะตัว พาสัมผัสสีที่มีเอกลักษณ์จากพืชรอบตัว รวมถึงสีจากงานวิจัย สีที่มีเสน่ห์จากปลีกล้วย ใบลีลาวดี และดอกบัวหลวง โดย ผศ.กรณัท สุขสวัสดิ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ความรู้ว่า สีจากธรรมชาติมีการนำมาใช้กันมายาวนาน ส่วนใหญ่นำมาจากพืช จากต้นไม้หลายชนิด ทั้งในธรรมชาติ พืชใกล้ตัวในสวนในรั้วบ้าน หรือที่มีปลูกอยู่ในชุมชน นำมาใช้ประโยชน์ และจากการพัฒนาเรื่อยมา ศึกษาทดลอง นำพืชชนิดใหม่ ๆ มาทดสอบการให้สีจึงเกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เกิดความหลากหลายของสี

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

 ในภาพรวมสีธรรมชาติมาจากพืช จากส่วนต่าง ๆ ทั้งส่วน ใบ ราก ลำต้น แก่น ดอก รวมถึงผล ซึ่งให้สีสันหลายเฉดสี อย่างเช่น กลุ่มสีแดง สีส้ม ได้จากรากยอ แก่นฝาง ดอกกรรณิการ์ ฯลฯ สีเหลือง จากแก่นขนุน ขมิ้น ขณะที่เปลือกข้าวโพด ฟางข้าวให้สีเหลืองอ่อน หรือ กลุ่มสีดำ จากมะเกลือ ฯลฯ สำหรับ สีเขียว ได้จากใบหูกวาง ใบไผ่ ใบตะไคร้ ฯลฯ สีนํ้าตาล จากเปลือกมังคุด เป็นต้น ซึ่งก็มีความเป็นได้ในทุกสี ทั้งนี้ ลักษณะของสีธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นเอิร์ธโทน ให้ความรู้สึกนุ่มนวล สบายตา ไม่ฉูดฉาด อีกทั้งมีความโดดเด่นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนอกจากคุณสมบัติดังกล่าว หลากสีสันจากธรรมชาติยังสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ส่งต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างอาชีพและรายได้

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

อาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ผศ.กรณัท อธิบายเพิ่มอีกว่า พืชใกล้ตัวที่แวดล้อมรอบตัวที่ปลูกอยู่ในชุมชนที่ให้สี ก็มีอยู่มาก จากที่ผ่านมาศึกษาวิจัยสีธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสกัดสีจากพืชเกษตรที่เหลือใช้ หลายชนิด อย่างเช่น ตะไคร้ พืชสวนครัวที่ทราบกันดีว่ามีประโยชน์หลายส่วน ทั้งนำมาปรุงประกอบอาหารและยังเป็นพืชสมุนไพรให้กลิ่นหอม นอกจากส่วนต้นที่ตัดส่งขาย ส่วนใบที่เหลือใช้ได้นำมาวิจัย ทดลองสกัดสี นำมาย้อมผ้า โดย ใบตะไคร้ให้สีเขียว

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

ขณะที่ ใบไผ่ สกัดสีได้สองเฉดสีให้ทั้ง สีเขียวและสีนํ้าตาล เป็นสีที่มีเอกลักษณ์ซึ่งในการทดลองวิจัยสีจากใบไผ่ที่ผ่านมาศึกษาทั้ง ใบสด และใบแห้ง โดยใบสดให้สีเขียว ส่วนใบแห้งให้สีนํ้าตาลอ่อน และหากต้องการเฉดสีที่มีความเข้ม อ่อนสามารถเพิ่มเติมส่วนผสมจากวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

นอกจากนี้ยังทดลองกับพืชอีกหลายชนิด อย่างเช่น ฟางข้าว ใบบัว พบว่าให้สีนํ้าตาล ขณะที่สีของ ดิน โคลน ก็ให้สีที่เป็นเอกลักษณ์ หลายเฉด และดิน โคลนแต่ละพื้นที่ให้สีที่ไม่เหมือนกันและในความเป็นสีธรรมชาติให้สีเอิร์ธโทน ไม่ฉูดฉาด มีความงามเฉพาะตัว โดยสามารถนำมาพัฒนาสร้างสรรค์ สร้างลวดลายให้ผืนผ้า ใส่ดีไซน์ได้หลากหลายซึ่ง ในความนิยมผ้าย้อมสีธรรมชาติยังคงเป็นที่สนใจ เป็นงานฝีมือที่มีคุณค่าและมูลค่า

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

ผศ.กรณัท เล่าเพิ่มอีกว่า สีจากธรรมชาติทั้งจากพืช จากดิน โคลน จากวัสดุเหลือใช้เหลือทิ้งการเกษตร ฯลฯ และจากวัสดุอีกหลากหลายที่ให้สีที่มีอยู่ในชุมชน รอบตัว  สีธรรมชาติจากที่กล่าวส่วนใหญ่มาจาก พืช ทั้งจากลำต้น กิ่งก้าน ใบ หรือดอกก็สามารถให้สีได้แทบทั้งหมด ส่วนการออกสีจะมากหรือน้อยของพืชแต่ละชนิด จากการศึกษาและสังเกตพบว่าหากพืชชนิดไหนมียางออกเยอะจะให้ความเข้มของสีได้มาก อย่างเช่น ใบลีลาวดี ใบขนุน มะละกอ และจากการศึกษา ทดลองพบว่าให้ความเข้มของสีได้มาก

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์ใบลีลาวดี

ถ้ามองถึง เฉดสี โทนสี สีจากธรรมชาติมีความหลากหลายมาก  อย่างเช่น แก่นขนุน ให้สีเหลือง เปลือกต้นนนทรี ให้สีนํ้าตาล ใบมะม่วงแห้ง ใบที่หล่นร่วงให้โทนสีนํ้าตาล ขณะที่ กะลามะพร้าว ให้โทนสีนํ้าตาลเช่นกัน และถ้าต้องการสีสันอื่นสามารถนำสีมาผสมกันก็จะได้อีกหลากหลายเฉด อย่างเช่น สีเหลืองทอง อาจารย์ใช้สีจากใบบัวผสมกับใบมะม่วงแห้ง อีกทั้งจากการศึกษา วิจัยใช้เทคนิคการย้อมซํ้า สร้างเฉดสีสวยให้กับผืนผ้า

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์สีจากดอกบัวหลวง

ผศ.กรณัท กล่าวอีกว่า เสน่ห์ของสีจากธรรมชาติเป็นไปได้หลายเฉดสี ทั้งความสดใส ซึ่งเป็นสีที่กลุ่มวัยรุ่นให้ความสนใจ วัยผู้ใหญ่ วัยทำงานจะชอบสีเอิร์ธโทน สีนํ้าตาล สีเทา ฯลฯ มองแล้วสบายตา และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอีกไม่น้อยก็สามารถนำมาสกัดสี ให้สีสันสวย โดยที่ผ่านมานำองค์ความรู้ถ่ายทอดให้กับชุมชน เป็นนวัตกรรมพร้อมใช้ นำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ และในปัจจุบันต่อยอดจากสิ่งที่ผ่านมา เช่น การสกัดสีจากบัวหลวง นำดอกบัวหลวง ใบบัว มาสกัดสีเพื่อย้อมสีธรรมชาติ สร้างสรรค์ผ้าทอมือย้อม ผลิตภัณฑ์มัดย้อมสีธรรมชาติจากดอกบัว ใบบัวหลวง โดยบัวหลวงเป็นอัตลักษณ์ของปทุมธานี

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

“โดยทั่วไปจะเห็นบัวสายนำมาสกัดสี แต่ครั้งนี้นำบัวหลวงมาสกัดสี นำมามัดย้อม สร้างลวดลายจากสีธรรมชาติที่สวยงามและเป็นอัตลักษณ์ บัวหลวงจะให้สีชมพูอมม่วงหรือชมพูสด ส่วนใบบัวให้สีเขียว และเมื่อบัวแห้งหรือเฉาลงจะให้โทนสีนํ้าตาล ที่ผ่านมาได้นำเสนอเฉดสีต่าง ๆ ของดอกบัวและใบบัว เสนอโทนสีต่าง ๆ ของดอกบัว เช่นเดียวกับใบบัว นำเสนอในผืนผ้า”

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

ปัจจุบันยังมี นวัตกรรมสีจากปลีกล้วย ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากปลีกล้วย และผ้าทอมือสีธรรมชาติจากปลีกล้วย รวมถึงผ้าทอมือสีธรรมชาติจาก ใบลีลาวดี โดยใบของลีลาวดีให้สีเขียว สีนํ้าตาล รวมถึงสีเทา ซึ่งในส่วนของสีเทามีทั้งเทาเข้ม และเทาอ่อนอยู่ในโทนสีเดียวกัน เป็นสีเอิร์ธโทนที่มีเสน่ห์

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์สีจากใบลีลาวดี

อาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ผศ.กรณัท เล่าย้อนถึงการสกัดสีจากปลีกล้วย และใบลีลาวดี โทนสีชุดใหม่อีกว่า สำหรับปลีกล้วย ในความโดดเด่นที่มองเห็น ที่นำมาวิจัยทดลองมาจากการเรียนการสอนนวัตกรรมเพื่อชุมชน  นำนักศึกษาลงพื้นที่และพบว่ามีการปลูกกล้วยอยู่มาก

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

“กล้วยสามารถนำมาแปรรูปสร้างสรรค์อาหารได้หลากหลาย ขณะที่ ปลีกล้วย นอกจากการรับประทานก็น่าที่จะสร้างสรรค์อะไรได้อีกจึงศึกษาทดลอง นำปลีกล้วยมาสกัดสี โดยปลีกล้วยให้สีชมพู ซึ่งนำมาทำมัดย้อม ทั้งต่อยอดไปสู่ผ้าทอมือสีธรรมชาติ การมัดย้อมเป็นเทคนิคหนึ่งในการสร้างลวดลายบนผืนผ้า มัดย้อมเป็นลวดลายดอกบัว

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

ส่วน ใบลีลาวดี ที่เลือกนำมาสกัดสี มองเห็นถึงศักยภาพ จากที่กล่าวต้นไม้ที่มียางเยอะมักให้สีที่เข้มจึงนำมาศึกษาทดลอง และก็พบว่าให้สีสันสวย โดยนำใบแก่เขียวสด นำมาใช้สกัดสี ซึ่งใบลีลาวดีให้สีที่หลากหลาย เพิ่มทางเลือกการใช้สีธรรมชาติใหม่ ๆ และสีจากใบลีลาวดี เมื่อนำมาสกัดสีได้นำไปย้อมเส้นฝ้าย นำมาใช้ในงานมัดย้อมผ้าทอมือ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ” สีจากธรรมชาติยังคงเปิดโอกาสให้ค้นหาความงาม ยังคงเป็นไปได้อีกหลากหลายเฉดสี เป็นสีที่มีเอกลักษณ์ความงาม ที่ยังคงส่งต่อองค์ความรู้

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

ต่อยอดสร้างนวัตกรรมสีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์

  พงษ์พรรณ บุญเลิศ

สำรวจเฉดสีสวยจากธรรมชาติต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเดลินิวส์