【วิธีแทงหวยยี่กี】‘จิตเศร้า!’ต้องป้องกัน ‘นิวเยียร์ส บลูส์’ ระวัง‘ภัยเงียบปีใหม่!’ | เดลินิวส์

ทั้งนี้ เทศกาลปีใหม่ 2568 มีวัน “หยุดยาว 5 วัน” ช่วงท้ายปี 2567 ถึงต้นปี 2568 โดยมีวันหยุดเพิ่มขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้ 30 ธ.ค. 2567 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มกรณีพิเศษ วันหยุดยาวรับปีใหม่รอบนี้จึงเริ่มตั้งแต่เสาร์ 28 ธ.ค., อาทิตย์ 29 ธ.ค., จันทร์ 30 ธ.ค., อังคาร 31 ธ.ค. 2567 และ 1 ม.ค. 2568 ซึ่งหลังผ่านช่วงหยุดยาวบางคน “อาจรู้สึกหมดไฟชีวิต!!”เรื่องนี้ “ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น!!”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

เป็นภาวะที่ “ทางจิตวิทยามีชื่อเรียก”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

“นิวเยียร์ส บลูส์ (New Year’s Blues)”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

ภาวะนี้ “รู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อนก็ดี”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

เกี่ยวกับภาวะนี้ ที่ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนย้ำข้อมูลวันนี้นั้น ทาง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้เคยออกมาให้ข้อมูลภาวะหรืออาการกลุ่มดังกล่าวนี้ไว้ว่า ใน “ช่วงปีใหม่” ที่น่าจะเป็นเทศกาลที่มีแต่ความสนุกและรอยยิ้มนั้น ขณะเดียวกันอาจมี “ภัยเงียบด้านสุขภาพจิต” ประเภทหนึ่งเกิดขึ้นกับบางคน กับช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีวันหยุดยาว ๆ โดยภัยเงียบที่ว่านี้ก็คือ “ภาวะ New Year’s Blues” ซึ่งคนไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นกันกับชื่อเรียกนี้ แต่กลับ ตรวจพบความชุกของภาวะอาการนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มประชากรคนไทย โดยเฉพาะช่วงหลายปีหลัง ๆ มานี้ หรือนับแต่มีโควิด-19 ระบาด

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

แล้วภาวะนี้คืออะไร?-อย่างไร? ทางกรมสุขภาพจิตได้ให้ข้อมูลไว้ โดยสังเขปมีว่า ภาวะ “New Year’s Blues” คือภาวะ “ซึมเศร้าช่วงปีใหม่” โดยผู้ที่เกิดภาวะนี้จะมีอาการ ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่สนใจสิ่งรอบข้างท้อแท้ มองตัวเองเป็นคนไร้ค่า รู้สึกสิ้นหวังโดยกับบางคนอาจจะมีอาการอื่น ๆ ประกอบที่แสดงออกมาด้วย อย่างการ มีปัญหาเรื่องการกิน เช่น กินมากขึ้นหรือกินน้อยลง มีปัญหาเรื่องการนอน เช่น นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก โดยอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเกิดต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ช่วงหยุดยาวจะผ่านไประยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกมีอารมณ์หม่นหมองและเศร้า ซึ่งที่ “น่ากลัว” คืออาจจะ

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

“อยากทำร้ายตัวเอง อยากจบชีวิต!!”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

ทั้งนี้ กับ “วิธีสังเกต” ทั้งกับตัวเองและคนใกล้ชิด ว่าเข้าข่ายเป็น“New Year’s Blues” หรือไม่?? ทางแหล่งข้อมูลเดิมได้ให้แนวทางไว้ว่า จุดสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างเพื่อประเมินว่าอาจจะเกิดภาวะนี้ ก็คือ รู้สึกหมดไฟ รู้สึกเครียด รู้สึกซึมเศร้า และโดยเฉพาะ มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง!! มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย!! ซึ่งถ้าพบสัญญาณผิดปกติเหล่านี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ หรือจิตแพทย์ โดยภาวะนี้แม้จะไม่ได้เป็นการวินิจฉัยทางจิตเวช เป็นภาวะทางสุขภาพจิต แต่ถึงกระนั้นก็ ควรได้รับคำปรึกษาเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงลุกลามไปมากขึ้น เพื่อที่จะเป็นการ“ตัดไฟแต่ต้นลม”ไว้ก่อน เพื่อ

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

“สกัดป่วยจิต สกัดเรื่องร้ายที่อาจเกิด”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

สำหรับ “คำแนะนำเพื่อไม่ให้ตกอยู่ภายใต้ภาวะ New Year’s Blues สกัดภาวะซึมเศร้าช่วงปีใหม่” นั้น ทาง กรมสุขภาพจิต ก็เคยมีการให้ “แนวทางสร้างพลังจิตใจที่เข้มแข็ง” ที่สามารถทำได้โดยเริ่มจากการ “เข้าถึง 4 ห้องหัวใจแห่งความสุข” ตั้งเป้าหมายให้ครบ 4 มิติในการ ดูแลสุขภาพกาย ใจ สังคม และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว โดย หัวใจห้องที่ 1 สุขกายด้วยการตั้งเป้าให้ตนเองมีสุขภาพกายที่ดี แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย และไม่ให้อายุมาเป็นขีดจำกัดการทำกิจกรรม หัวใจห้องที่ 2 สุขใจ ด้วยการตั้งเป้าให้ตนเองมีสุขภาพจิตที่ดี และรับมือความเครียดหรือปัญหาที่เข้ามาได้

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

หัวใจห้องที่ 3สุขสังคม ด้วยการตั้งเป้าให้ตนเองอยู่อย่างมีคุณค่าในสังคม และรู้จักมอบความสุขให้แก่ผู้อื่น ส่วนอีกห้องหัวใจแห่งความสุขที่ก็ควรต้องเข้าถึงคือ หัวใจห้องที่ 4 สุขสัมพันธ์ ด้วยการตั้งเป้าหมายให้ตนเองมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ปราศจากความรุนแรง มีแต่ความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจกันและกัน นี่เป็น “คำแนะนำที่น่าทำตาม”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

เช่นเดียวกับการ “เปิดประตู 6 บาน”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

ประตู 6 บานในที่นี้ หมายถึง “6 วิธีสร้างความสุขพื้นฐาน” ที่สามารถทำได้ด้วยการ “เปิดประตู 6 บาน” โดย ประตูบานที่ 1 จัดการทุกข์ คือมีสติรู้อารมณ์ความคิดตนเอง เรียนรู้จากสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ แล้วค่อย ๆ แก้ปัญหาทีละเรื่องเท่าที่จะทำได้ หรือปล่อยวางบางเรื่องที่ได้ทำเต็มที่แล้ว ประตูบานที่ 2 สนุกกับชีวิตทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย หรือเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยเรียน ประตูบานที่ 3 คิดบวกเพิ่ม มองตัวเองในแง่บวก ยอมรับสิ่งที่ตัวเองเป็น เชื่อมั่นในศักยภาพตนเอง

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

ประตูบานที่ 4 เสริมร่างกายทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ประตูบานที่ 5 ใจมีพลังสร้างแนวคิดยืดหยุ่น สะสมความแข็งแกร่งทางจิตใจ เพื่อให้ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากและอุปสรรคใด ๆ และ ประตูบานที่ 6 ฟังและเล่า รับฟังเรื่องราวต่าง ๆ โดยไม่ตัดสิน เปิดใจพูดคุยกับผู้อื่นเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจ ไม่เก็บไว้คนเดียว

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

ทั้งนี้ “เทศกาลปีใหม่” แม้บางคน ไม่มีโอกาสหาความสุข บางคน หาความสุขก็เพื่อปิดบังทุกข์ บางคน หาความสุขแล้วกลับมาเกิดทุกข์ จะอย่างไร “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็ขอเป็นกำลังใจให้ “เปิดประตู 6 บาน-เข้าถึง 4 ห้อง”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

“ฮีลใจตัวเอง” สกัด “ไม่ให้รู้สึกท้อแท้”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

เพื่อ “ป้องกันภาวะ นิวเยียร์ส บลูส์”

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

นี่ “เท่าทันไว้ก่อนปีใหม่เลยก็ยิ่งดี”.

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

จิตเศร้าต้องป้องกันนิวเยียร์สบลูส์ระวังภัยเงียบปีใหม่เดลินิวส์