【pg slot gold】กล้อง AI ตรวจจับ ‘ใส่หมวกกันน็อก’ นศ.ถูกใจ ไม่ต้องหลบ ‘หมอลำ’ เด้อ | เดลินิวส์

เวทีเปิดกิจกรรมรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนของสหประชาชาติภายใต้แคมเปญ #MakeASafetyStatement เพื่อนำการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนระดับโลกเข้ามาดำเนินการ ณ ประเทศไทย สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนทุกกลุ่ม และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม เผย ตัวเลขจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยอยู่ที่ 25 คนต่อแสนประชากร ในไทย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 18,000 ราย พิการกว่า 10,000 ราย และบาดเจ็บกว่า 1 ล้านราย มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 600,000 ล้านบาท

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

สาเหตุหลักไม่สวมหมวกกันน็อก

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

จากเวทีดังกล่าว นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยนโยบายเพื่อลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงคมนาคมจะร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และสมาคมผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เบื้องต้นได้หารือกันเรื่อง ซื้อรถจักรยานยนต์ 1 คัน ต้องแถมหมวกกันน็อก 2 ใบ จากเดิมที่แถม 1 ใบ และจะหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีขับขี่ไม่สวมหมวกกันน็อกจะเปลี่ยนเป็นไม่ให้เสียค่าปรับทันที โดยจะให้นั่งรอที่ด่านตรวจหรือเชิญไปโรงพักเพื่อให้นั่งรอไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เชื่อว่าถ้าเกิดความไม่สะดวกขึ้นหลังจากนี้คนก็จะสวมหมวกกันน็อกกันมากขึ้น สำหรับ สาเหตุหลักการเสียชีวิตบนท้องถนน คือไม่สวมหมวกกันน็อก ในแต่ละปีเฉลี่ยเกือบหมื่นราย ขณะที่มีตัวเลขไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ใช้รถจักรยานยนต์ที่สวมหมวกกันน็อก 

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

AI ช่วยตรวจจับการสวมหมวก

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

ความหวังให้คนไทยสวมหมวกได้ต้องมีแรงจูงใจ นอกจากนี้ มีการ ใช้ เอไอ (AI) มาช่วย ล่าสุด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผุดนวัตกรรม “กล้อง AI ตรวจจับการใส่หมวกกันน็อก” เข้าจอด Smart Parking ปลอดภัย จักรยานยนต์เป็นพาหนะจำเป็นของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่ละวันมีจำนวนจักรยานยนต์ในมหาวิทยาลัยถึง 20,000 คัน ประกอบกับพื้นที่มหาวิทยาลัยมีถนนสายหลักผ่ากลาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2202 ท่าขอนยาง-ขามเรียง-นาสีนวล) ขณะเดียวกันการสวมหมวกกันน็อกของนักศึกษายังอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ โดยในช่วงปี 2565-2566 บริเวณเส้นหลักเกิดอุบัติเหตุถึง 74 ครั้ง เฉลี่ยเดือนละ 6 ครั้ง ส่วนพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น 400 ครั้ง จากสถิติอุบัติเหตุนี้ องค์การอนามัยโลกถือเป็นถนนจุดเสี่ยง

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์ผศ.ดร.พงษ์พันธ์ แทนเกษม

“ปัจจุบันอัตราใส่หมวกกันน็อกของนักศึกษายังต่ำมาก ประมาณ 10% เท่านั้น หากนับทั้งคนขับและคนซ้อนแค่เพียง 4% เหตุผลหลักมาจากความขี้เกียจ รีบ ไม่มีที่เก็บ และกลัวผมเสีย ซึ่งในปีการศึกษา 2567 มีนักศึกษาใหม่มากถึง 15,000 คน เมื่อรวมทุกชั้นปีและบุคคลกร ประมาณ 50,000 คน” ผศ.ดร.พงษ์พันธ์ แทนเกษม สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ข้อมูล ในฐานะผู้ริเริ่มจัดทำ Smart Parking หลังจากการเข้าร่วมมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การอนามัยโลก เพื่อสร้างเครือข่ายรณรงค์การสวมหมวกกันน็อก 100% โดย ใช้กล้องระบบ AI ตรวจจับผู้สวมใส่หมวกกันน็อก ในการเข้าจอดได้ในโรงจอดรถใกล้อาคาร หมายความว่าถ้าสวมหมวกกันน็อกเข้ามาในพื้นที่จอดในอาคาร ระบบไม้กั้นจะเปิดให้อัตโนมัติ แต่ถ้าไม่สวมหมวกกันน็อก ระบบไม้กั้นจะไม่เปิด รวมทั้งระบบยังสามารถตรวจจับแผ่นป้ายทะเบียน ถ้ารถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน ระบบไม้กั้นก็จะไม่เปิดเช่นกันประชากรจักรยานยนต์ในมหาวิทยาลัยนี้คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของนักศึกษา ดังนั้น การได้ที่จอดรถอยู่ในร่มและอยู่ใกล้ตึกเรียนจึงเป็นสิ่งที่น่าจะจูงใจให้นักศึกษาหันมาสวมหมวกมากขึ้น

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

Smart Parking ลุ้นหมูกระทะฟรี

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

“สำหรับ Smart Parking จัดทำเป็นจุดจอดปลอดภัยในร่ม และไม่ต้องกลัวหมวกกันน็อกหาย เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับนักศึกษา และเป็นการปรับพฤติกรรมไปในตัว เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่ละเดือนจะมีการสุ่มให้รางวัลกับผู้สวมใส่หมวกกันน็อก ทุกวันที่ 1 และ 16 ให้บัตรกินหมูกระทะฟรี มีการให้ดาวติ๊กต็อกของมหาวิทยาลัย ถ่ายคลิปโปรโมทจุดจอดรถอัจฉริยะ และรณรงค์การสวมใส่หมวกกันน็อก พร้อมทั้งมีโครงการสนับสนุนช่วยออกค่าหมวกกันน็อก 50%” ผศ.ดร.พงษ์พันธ์  กล่าวและว่า การลงทุนในจุด Smart ใช้เงินประมาณ 3 แสนบาท โดยไม่ต้องลงทุนด้านโครงสร้างอาคารจอดรถ เพราะมีพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งในอนาคตจะมีการทำระบบลงทะเบียน เพื่อสร้างฐานข้อมูลผู้ใช้จักรยานยนต์ในพื้นที่มหาวิทยาลัย แบ่งเป็นรายละเอียดและจำนวนผู้ขับขี่แต่ละคณะ เพื่อจัดทำตัวเลขอัตราการสวมหมวกของแต่ละคณะ และนำไปต่อยอดในการออกนโนบายและมาตรการรณรงค์ที่ขยายผลต่อไป

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

“น้องส้ม” อาณัสรา เมืองประชา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ที่นักศึกษาไม่ใส่หมวกกันน็อก เหตุผลคือรีบ และขี้เกียจ ซึ่งถ้ามีอุบัติเหตุจะมีความสูญเสียเกิดขึ้น บางคนอาจจะต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งระบบแบบนี้ดีกว่าต้องเสียค่าปรับ คิดว่าน่าจะสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาได้ สำหรับนักศึกษาจะมีการส่งไลน์กลุ่มว่ามีตำรวจตรวจจับอยู่ในจุดไหน เพื่อหาทางเลี่ยง ซึ่งจะ ใช้ศัพท์เฉพาะในกลุ่มนักศึกษา เรียกกันว่า “หมอลำ” หมายความว่าอย่าผ่าน “มีตำรวจตั้งด่านอยู่” จะมีทางลับ ๆ ที่เด็ก มมส. ต้องรู้ เพื่อหาทางหลบด่านตำรวจ

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย

20% ดับบนถนนเป็นเด็ก-เยาวชน

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันการบาดเจ็บ (WHO expert advisory panel on injury and violence prevention and control) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกทำงานร่วมกันกับ สสส. อย่างใกล้ชิด โดยโครงการมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในสถาบันอุดมศึกษา เป็นการขยายต่อเนื่องมาจากมาตรการองค์กรในสถานประกอบการโดยแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ซึ่งในเฟสแรกได้ทำในมหาวิทยาลัย 9 แห่งทั่วประเทศ หลายที่ประสบความสำเร็จ จึงต่อยอดไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ ความสำคัญที่ต้องมุ่งเน้นในกลุ่มนักศึกษา เนื่องจาก 20% ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นเด็กและเยาวชน กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมาก ในหลายมิติ คือ 1.เป็นกลุ่มเสี่ยง 2.ต้นทางของการสร้างระเบียบวินัย จะเป็นต้นแบบต่อไปเมื่อจบออกไปทำงานในองค์กร ซึ่งจะมีผลระยะยาว 20-30 ปี

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

เด็กเกิดน้อยอุบัติเหตุยิ่งซ้ำปัญหา

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

“ปัจจุบันมีเด็กเกิดใหม่น้อยลง ทิศทางทรัพยากรมนุษย์ของไทยน่ากังวลมาก เพราะเข้าสู่สังคมสูงอายุแล้ว คนแก่จะไม่มีคนมาดูแล คนหนุ่มสาวแค่ดูแลตัวเองก็ยากแล้ว แต่อุบัติเหตุทางถนนทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เพราะแต่ละปีมีคนกว่า 10,000 คน เสียชีวิตไปก่อนวัยอันควร ทำให้เราขาดแคลนแรงงาน เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องทุกส่วน ทั้งรัฐบาล หน่วยงาน ภาคีเครือข่าย และประชาชน” นพ.วิทยา กล่าว และสำหรับปัจจัยความสำเร็จของโครงการนั้น หัวใจหลักมาจากผู้บริหารต้องเห็นด้วยและประกาศเป็นนโยบาย ให้การสนับสนุนทุกด้านเพื่อเซฟชีวิตเด็ก

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

สำหรับโครงการมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในสถาบันอุดมศึกษา โดยความร่วมมือระหว่าง สสส. และ องค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย นำร่อง 9 แห่ง ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต 2.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 3.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร 5.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 7.มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 8.มหาวิทยาลัยพะเยา 9.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

ทั้งนี้ ระบบ AI ตรวจจับหมวกกันน็อกมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการเขียนโปรแกรม ซึ่งมหาวิทยาลัยพร้อมเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับหน่วยงานที่สนใจต่อไป

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์

ทีมวาไรตี้

กล้องAIตรวจจับใส่หมวกกันน็อกนศถูกใจไม่ต้องหลบหมอลำเด้อเดลินิวส์