【ae baccarat】สูตรคำนวณวิธีใหม่ ‘ดัชนีมวลกลม’ ใช้รอบเอวชี้โรคอ้วน | เดลินิวส์

ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มมีเด็กเป็นโรคอ้วนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งตัวเลขปี 2567 โดยกรมอนามัย เผยไว้ว่า ไทยมีเด็กอายุ 6-14 ปี ที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน สูงถึง 546,434 คน ขณะที่เด็กวัยรุ่นช่วงอายุ 15-18 ปี ก็มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนอยู่ที่ 230,027 คน แน่นอนว่า ถ้าไม่เร่งดำเนินการแก้ไข มี“เด็กอ้วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” ก็ย่อม “ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนไทย”ในอนาคต

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

และจากกรณีปัญหาดังกล่าว ทำให้ขณะนี้ได้มีหลาย ๆ หน่วยงานพยายามประสานความร่วมมือกัน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและควบคุมโรคอ้วนในเด็ก ก่อนที่จำนวน “เด็กอ้วนไทย” จะพุ่งสูงมากขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในแนวทางน่าสนใจ และอาจจะเป็น กลไกส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา นี้ ที่จะทำให้สังคมไทย หันมาตระหนักถึงปัญหาโรคอ้วน ก็คือ..

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

เปลี่ยนมุมมอง “วิธีคำนวณโรคอ้วน”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

จากที่ใช้ตัวชี้วัดเดิม “ดัชนีมวลกาย”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

ก็ “เปลี่ยนใช้วิธีคำนวณดัชนีมวลกลม”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

สำหรับ “ข้อเสนอ” ถึงแนวทางดังกล่าว ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูล ณ ที่นี้ มาจากบทความวิชาการ “ดัชนีมวลกลม แนวทางการวินิจฉัยโรคอ้วนแบบใหม่ที่น่าจะดีกว่าดัชนีมวลกาย”โดย สุพัตรา ฌานประภัสร์ ซึ่งบทความนี้เผยแพร่ไว้ใน เว็บไซต์เดอะประชากร.คอม โดยประเด็นน่าสนใจเรื่องนี้โดยสังเขปมีว่า จากปัญหาโรคอ้วนที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วยนั้น นำสู่คำถามที่ว่า “ค่าดัชนีมวลกาย” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแม่นยำจริงหรือไม่? ที่จะบอกว่า ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยงสุขภาพ? ซึ่งในบทความได้เสนอแนวคิดใหม่ที่กำลังเป็นที่พูดถึงในปัจจุบัน

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

เพื่อ “ปรับแนวคิดพิจารณาโรคอ้วน”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

ที่ “อาจเป็นอีกแนวทางช่วยแก้ปัญหา”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

ทาง สุพัตรา ผู้เขียนบทความดังกล่าว อธิบายแนวคิดนี้ไว้ว่า เดิมทีการพิจารณาว่าใครเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนจะต้องคำนวณโดยการนำน้ำหนักกิโลกรัม (กก.) มาหารด้วยส่วนสูงหน่วยเมตร แล้วยกกำลังสอง ซึ่งถ้าค่าที่ออกมาได้มากกว่า 30 กก./ส่วนสูง ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก แปลว่า เป็นโรคอ้วนแล้ว!! ซึ่งสูตรคำนวณดังกล่าวเป็นสูตรที่ใช้กันมานาน อย่างไรก็ตาม แต่ในช่วงหลังก็เริ่มมีผู้ตั้งคำถามเกี่ยวกับ “สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย” แบบนี้ว่า เกณฑ์วิธีวินิจฉัยข้างต้นสะท้อนความเป็นจริงถูกต้องหรือไม่? โดยเฉพาะการนำน้ำหนักมาใช้ ที่ อาจเป็นข้อมูลที่ไม่แม่นยำมากพอที่จะชี้ว่าใครเป็นโรคอ้วน?

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

นอกจากนั้น ในปัจจุบันทางการแพทย์ก็จะหาค่า ดัชนีมวลกาย หรือ “Body Mass Index” หรือ “BMI จากการคำนวณน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อพิจารณาการเป็นโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม แต่ระยะหลังนี้ที่มีคำถามถึงการประเมินโรคอ้วนโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงว่า อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง? จึงนำสู่การค้นหาและพัฒนา “สูตรคำนวณโรคอ้วนสูตรใหม่” โดยหนึ่งในนั้นคือแนวคิดนำสูตรคำนวณที่เรียกว่า“ดัชนีมวลกลม”หรือ “Body Roundness Index” หรือ “BRI” มาใช้วินิจฉัยโรคอ้วน

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

เกี่ยวกับ “ดัชนีมวลกลม” หรือ “BRI” นั้น ในบทความเดิมอธิบาย “สูตรคำนวณแบบใหม่”นี้ไว้ว่า เป็นการใช้ข้อมูล “ส่วนสูง” กับ “เส้นรอบเอว” มาคำนวณ เนื่องจากผู้ที่มีค่า BMI ตามเกณฑ์มาตรฐานก็อาจเป็นผู้ที่มีพุงหน้าท้อง หรือ “พุงหมาน้อย” ได้เช่นกัน จึงเป็นที่มาการพัฒนา “สูตรคำนวณค่าดัชนีมวลกลม” ขึ้น โดยจะคิดจากร้อยละไขมันในร่างกายและร้อยละไขมันในช่องท้อง โดยคำนวณได้จากลิงก์ https://app.webfce.com/PublicBRICalculator.aspx ที่เป็นโปรแกรมช่วยคำนวณหาค่า “ดัชนีมวลกลม” เป็นคำอธิบายโดยสังเขปสูตรคำนวณโรคอ้วนแบบใหม่ และลิงก์ที่ช่วยคำนวณค่า BRI

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีเกณฑ์การแบ่ง BRI ชัดเจนเหมือนกับ BMI แต่ข้อมูลจากการศึกษาติดตามในกลุ่มตัวอย่างวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา 32,995 ราย พบว่า คนที่มี BRI ต่ำกว่า 3.4 เสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 และคนที่มี BRI สูงกว่า 6.9 เสี่ยงเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเพิ่มขึ้นร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับคนที่มี BRI ในช่วงกลาง ๆ หรือ 4.5-5.5 ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ผู้ที่มีค่า BRI ระหว่าง 4.5-5.5 มีแนวโน้มปลอดภัยจากการเสียชีวิตมากกว่าผู้มีค่า BRI น้อยกว่าหรือมากกว่า

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

นี่เป็นผลศึกษาในอเมริกาที่น่าสนใจ

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

และ สุพัตรา ฌานประภัสร์ ผู้เขียนบทความดังกล่าว ระบุไว้ด้วยว่า ผลการศึกษาข้างต้นเป็นสิ่งที่น่าจะสะท้อนว่า “ค่าดัชนีมวลกลม” นั้น “มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตทุกสาเหตุ” และ “สามารถเป็นสัญญาณบ่งชี้การเกิดโรคอ้วนได้” โดยที่ แนวทางเบื้องต้นเพื่อ ป้องกันไม่ให้ค่า BRI เกินระดับสุขภาพดี ตามมาตรฐานประชากรเอเชีย คือ ควบคุมไม่ให้เส้นรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตรในเพศหญิง และไม่เกิน 90 เซนติเมตรในเพศชาย ด้วยการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น ออกกำลังกาย มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง รับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อป้องกันเกิดภาวะอ้วนลงพุง เนื่องจากไขมันสะสมในช่อง รวมถึงโรคอ้วน ด้วย เหล่านี้เป็นข้อมูลที่ “น่าสนใจ”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

เสนอ “ใช้วิธีคำนวณโรคอ้วนแบบใหม่”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

จากดัชนีมวลกาย “ใช้ดัชนีมวลกลม”

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

ใคร “พุงโต ๆ กลม ๆ ลดด่วน!!”.

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

สูตรคำนวณวิธีใหม่ดัชนีมวลกลมใช้รอบเอวชี้โรคอ้วนเดลินิวส์