【16 พฤษภาคม 2564】Bad Genius การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับ ตะวันตก – THE STANDARD

HIGHLIGHTS3 MIN READ โครงเรื่องของ Bad Genius ในเวอร์ชันนี้ไม่ต่างอะไรกับต้นฉบับนัก มันว่าด้วยชีวิตของ ลินน์ คัง (Callina Liang) เด็กสาวนักเรียนทุนที่มีพรสวรรค์และอยากจะสานฝันทางด้านดนตรีด้วยการเข้าเรียนที่ The Juilliard School โรงเรียนสอนศิลปะชื่อดังของนิวยอร์ก แต่ เม้ง คัง (Benedict Wong) ผู้เป็นพ่อกลับต้องการให้ลูกสาวเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง MIT เพื่ออนาคตที่ดีกว่า และการได้พบกับ เกรซ (Taylor Hickson) เพื่อนสาวฐานะดีก็ทำให้เธอค้นพบว่าตัวเองสามารถหาเงินได้ด้วยการใช้ความฉลาดในการโกงข้อสอบBad Genius ฉบับตะวันตกนี้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยอยู่หลายจุด แต่แกนหลักของเรื่องยังคงเหมือนเดิม นั่นคือการพูดถึงทุนนิยมที่อยู่ในระบบการศึกษาผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ของตัวละคร ที่ในทางหนึ่งไม่เพียงแค่เผยให้เห็นถึงเนื้อในของคนร่ำคนรวยที่ทำนาบนหลังคน แต่ยังเผยให้เห็นว่าคนจนๆ เองก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนั้นคนหนึ่งที่เด่นชัดมากคือแบงค์ ความจนตรอกของเขาในเวอร์ชันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของการหาเงินมาจุนเจือครอบครัวหรือถูกซ้อมจนหมดสิทธิ์สอบ หากแต่เพราะการเป็นผู้อพยพด้วยที่ทำให้เขาต้องเลือกเดินเข้าสู่เส้นทางนี้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือว่ากว้างไกลและร่วมสมัยกว่ามาก เพราะเด็กหนุ่มเป็นเหมือนภาพสะท้อนของปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซ้อนทับกันอยู่ในสังคมตะวันตก และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตอนจบของภาพยนตร์มีความแตกต่างออกไปจากเดิม

ภาพยนตร์เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง (Bad Genius) ของผู้กำกับ บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ออกฉายครั้งแรกในปี 2017 ถือเป็นภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จในระดับสากลมากที่สุดเรื่องหนึ่งทั้งในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ โดยทำเงินจากการฉายภายในประเทศไปได้ถึง 182 ล้านบาท พร้อมกับสร้างสถิติกลายเป็นภาพยนตร์ที่คว้ารางวัลสุพรรณหงส์ได้มากที่สุดถึง 12 สาขา จาก 16 สาขาที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิง และเมื่อถูกซื้อไปฉายในต่างประเทศก็ทำให้ ฉลาดเกมส์โกง กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลด้วยตัวเลขรวมกันถึง 1.84 พันล้านบาท ก่อนที่สถิตินี้จะถูกโค่นลงโดย หลานม่า (2024) ของ พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้กำกับที่เคยเอาเนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนี้มาดัดแปลงเป็นซีรีส์ความยาว 12 ตอนในชื่อ ฉลาดเกมส์โกง เดอะซีรีส์ (2020)

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

ทั้งนี้ ด้วยความที่องค์ประกอบส่วนใหญ่มีกลิ่นอายของภาพยนตร์ทริลเลอร์ทำให้ฮอลลีวูดขอซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เรื่องนี้ไปรีเมกโดยใช้ชื่อว่า ‘Bad Genius’ ตามเดิม ซึ่งได้โปรดิวเซอร์และมือเขียนบทอย่าง J.C. Lee จากซีรีส์เรื่อง How to Get Away with Murder (2015-2017) และ Looking (2014-2015) มาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ร่วมกับ Julius Onah ผู้กำกับ The Cloverfield Paradox (2018) โดยทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมของทีมสร้างที่นำโดย Patrick Wachsberger ผู้เคยทำให้ CODA (2021) สามารถคว้ารางวัลออสการ์มาได้เมื่อปี 2022

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

โครงเรื่องของ Bad Genius ในเวอร์ชันนี้ไม่ต่างอะไรกับต้นฉบับนัก มันว่าด้วยชีวิตของ ลินน์ คัง (Callina Liang) เด็กสาวนักเรียนทุนที่มีพรสวรรค์และอยากจะสานฝันทางด้านดนตรีด้วยการเข้าเรียนที่ The Juilliard School โรงเรียนสอนศิลปะชื่อดังของนิวยอร์ก แต่ เม้ง คัง (Benedict Wong) ผู้เป็นพ่อกลับต้องการให้ลูกสาวเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง MIT เพื่ออนาคตที่ดีกว่า และการได้พบกับ เกรซ (Taylor Hickson) เพื่อนสาวฐานะดีก็ทำให้เธอค้นพบว่าตัวเองสามารถหาเงินได้ด้วยการใช้ความฉลาดในการโกงข้อสอบ 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

พัฒน์ (Samuel Braun) ที่เป็นแฟนหนุ่มของเกรซ จึงแนะนำว่าเขามีเพื่อนอีกมากที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อแลกกับคะแนนดีๆ และลินน์ที่มีปัญหาเรื่องการเงินก็จะได้รับค่าตอบแทนนั้นอย่างสมน้ำสมเนื้อ เด็กสาวที่ดูจะถลำลึกลงไปกับการหาเงินได้เป็นจำนวนมากโดยที่ใช้แค่สมองเลยตอบตกลงเข้าร่วมกับพวกเขา พร้อมกับชักชวน แบงค์ (Jabari Banks) นักเรียนทุนอีกคนให้มาทำงานใหญ่อย่างการโกงข้อสอบวัดผล SAT ที่ต้องใช้ในการยื่นมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ด้วยการบินไปสอบก่อนและส่งคำตอบกลับมา ทว่าทุกอย่างอาจไม่ได้ง่ายแบบที่พวกเขาวาดหวังเอาไว้

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

ซึ่งก็ตามเนื้อผ้า Bad Genius ฉบับตะวันตกนี้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยอยู่หลายจุด แต่แกนหลักของเรื่องยังคงเหมือนเดิม นั่นคือการพูดถึงทุนนิยมที่อยู่ในระบบการศึกษาผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ของตัวละคร ที่ในทางหนึ่งไม่เพียงแค่เผยให้เห็นถึงเนื้อในของคนร่ำคนรวยที่ทำนาบนหลังคน แต่ยังเผยให้เห็นว่าคนจนๆ เองก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนั้น แน่นอนว่าประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นยังคงเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องราวอยู่เสมอ และวิธีการเล่านั้นก็ถือว่าเคารพต้นฉบับมากทีเดียว เพราะแม้แต่องค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามวัฒนธรรมอย่างชื่อยังถูกตั้งออกมาแบบเดียวกับต้นฉบับทุกตัวละคร 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

แต่ท่ามกลางรายละเอียดนั้นการเล่าเรื่องด้วยภาพดูจะมีอะไรที่ขาดตกบกพร่องอยู่พอสมควร โดยเฉพาะภาพมุมกว้างที่มักจะสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของตัวละคร ที่ในเวอร์ชันนี้ดูเหมือนจะมีน้อยและไม่ได้มีความสลักสำคัญเท่าไร ภาพในภาพยนตร์ส่วนใหญ่เลยเป็นการจับจ้องด้วยภาพขนาดกลางและขนาดใกล้ ซึ่งช่วยขับเน้นอารมณ์ของตัวละคร แต่ไม่ได้ช่วยทำให้รู้สึกว่าพื้นที่เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของพวกเขาทั้งในแง่ของกรอบชีวิตและเครื่องมือทำมาหากิน 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ผู้สร้างเลือกที่จะตัดทอนรายละเอียดเหล่านี้ออกไปก็อาจเป็นเพราะงบประมาณที่จำกัดของตัวเอง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างสูงอย่างแน่นอน แต่ถึงกระนั้นก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่พยายามจะเก็บองค์ประกอบสำคัญๆ เอาไว้ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ซาวด์ดีไซน์เพื่อควบคุมจังหวะการเล่าเรื่อง การใช้กราฟิกเพื่อบ่งบอกช่วงเวลาของตัวละคร รวมไปถึงการใช้ความเร็วในการตัดต่อเพื่อบีบหัวใจของผู้ชมตลอดเวลา และเมื่อนำทั้งหมดมารวมเข้ากับแบ็กกราวด์ตัวละครที่ทาบทับอยู่กับบริบทสังคมตะวันตกก็ถือว่าเป็นมิติที่น่าสนใจเลยทีเดียว

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

คนหนึ่งที่เด่นชัดมากคือแบงค์ ความจนตรอกของเขาในเวอร์ชันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของการหาเงินมาจุนเจือครอบครัวหรือถูกซ้อมจนหมดสิทธิ์สอบ หากแต่เพราะการเป็นผู้อพยพด้วยที่ทำให้เขาต้องเลือกเดินเข้าสู่เส้นทางนี้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือว่ากว้างไกลและร่วมสมัยกว่ามาก เพราะเด็กหนุ่มเป็นเหมือนภาพสะท้อนของปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซ้อนทับกันอยู่ในสังคมตะวันตก และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตอนจบของภาพยนตร์มีความแตกต่างออกไปจากเดิม แต่ก็น่าเสียดายที่กว่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างจริงจังก็ปาเข้าไปช่วงท้ายของเรื่องแล้ว 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

นอกจากนี้ความสัมพันธ์ของตัวละครก็เหมือนจะเป็นปัญหาที่รบกวนจิตใจไม่ใช่น้อย เนื่องจากปูมหลังของพวกเขาถูกบอกเล่าผ่านคำพูดเป็นส่วนใหญ่ น้ำหนักของตัวละครเลยดูขาดพลังทั้งในแง่ของเคมีและความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะลินน์กับแบงค์ที่ความสิ้นไร้ไม้ตอกในชีวิตของพวกเขาดูไม่ได้สร้างอารมณ์ร่วมได้มากอย่างที่ควรจะเป็น เพราะเมื่อฉากสุดท้ายมาถึงผู้ชมก็แทบจะคาดเดาได้ทันทีว่า นี่ไม่ใช่จุดจบของตัวละครจริงๆ แตกต่างจากต้นฉบับที่เราสามารถสัมผัสได้ถึงความรู้สึกผิดบาปและไม่อาจหันหลังกลับของพวกเขา

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

โดยรวม Bad Genius เลยเป็นภาพยนตร์ที่เคารพในแนวทางของต้นฉบับมาก แต่ด้วยเหตุนี้เองทำให้มันเป็นภาพยนตร์ที่ดูไม่ได้มีอะไรใหม่นัก เพราะไม่ว่าการตัดสินใจของพวกเขาจะทำเพื่อสนองตัณหาหรือความทะเยอทะยานอยาก สุดท้ายแล้วสิ่งหนึ่งที่ทุนนิยมชนะเสมอก็คือการทำลายคนดีๆ ไปตลอดกาล

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

Bad Genius เข้าฉายแล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

รับชมตัวอย่าง Bad Genius ได้ที่:

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตก

 

การศึกษาภาคทุนนิยมฉบับตะวันตกTAGS: ฉลาดเกมส์โกง