【fortune rabbit】มวยไทย : พัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก – THE STANDARD

นานนับสิบปี ที่คนส่วนใหญ่รู้จักมวยไทยเพียงรูปแบบของการชกมวยถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ไม่รู้เลยว่ามวยไทยยังมีความหลากหลายลึกซึ้งกว่ามวยไทยเวทีที่คุ้นตา สมัยแรกๆ ใครจะฝึกมวยไทยได้ มักต้องเป็นนักมวยขึ้นชกเท่านั้น มวยไทยจึงไม่เป็นที่ฝึกฝนในวงกว้าง บรรดาเยาวชนไทยต่างไปฝึกวิชาการต่อสู้ของชาติอื่นๆ เพราะผู้ปกครองไม่อยากให้ลูกหลานเจ็บตัว จนเมื่อภาพยนตร์ไทยเรื่อง ‘องค์บาก’ ได้นำเสนอมวยไทยในรูปแบบ ‘มวยโบราณ’ จึงเกิดกระแสนิยม เกิดทางเลือกอื่นๆ เช่น การเรียนมวยไทยเพื่อการออกกำลังกาย หรือการแข่งขันรูปแบบอื่น เกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นอีกมาก

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

เมื่อคำว่า ‘มวยโบราณ’ นั้น ‘ขายได้’ จึงเกิดการผลิตบุคลากรเกี่ยวกับมวยไทยมากขึ้น จากที่เคยมีกลุ่มมวยดั้งเดิมสืบสายฝึกกันมาก่อนกระแสนิยม เช่น มวยไชยาบ้านครูแปรง มวยครูเล็กบ้านช่างไทย มวยท่าเสาพระยาพิชัย กลุ่มสืบสานมวยโคราชสายครูบัว วัดอิ่ม โดยครูตุ้ย ฯลฯ ก็เริ่มมีผู้สนใจมากขึ้น บางสถาบันค้นคว้าจากตำรับตำรา เลือกมาเฉพาะไม้ที่ใช้งานได้จริงในทางปฏิบัติ เช่น สมาคมครูมวยไทย สมาคมสยามยุทธ ฯลฯ ขณะที่บางกลุ่มซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังตามกระแสไม่ได้ลงทุนค้นคว้าฝึกฝน แต่ลอกเลียนกันมา หลายคนยังคงไม่รู้ว่ามวยไทยในแต่ละท้องถิ่นมีอัตลักษณ์ที่ต่างกัน ดังคำกล่าวดั้งเดิมของมวยสามสายหลักที่ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา”

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

หรืออีกคำที่ว่า “หมัดตรงลพบุรี เตะดีโคราช ศอกเข่าสามารถมวยไชยา” บ่งบอกถึงไม้เด็ดที่เลื่องลือ ทั้งลีลาการจดมวยและไม้รบก็แตกต่างกันออกไป มวยใต้ไชยามีความรัดกุม ทุกคมข้อต่อล้วนเป็นทั้งอาวุธและปราการป้องกัน ไม่ว่าจะหมัด ศอก เข่า แข้ง แม้เพียงตั้งรับใครกระทบเข้าก็เจ็บจนล้า จดมวยย่อสมดุลดีแม้ตีมวยในเรือหรือดินเลนก็เจนจัด เพราะอาชีพถนัดส่วนหนึ่งเป็นชาวประมง และเกษตรกร มวยโคราชมีดีทางวงเตะแคบ หนักแน่นแม่นยำ และหมัดเหวี่ยงทรงพลัง จดมวยหนักเท้าหน้า ส่วนเท้าหลังยืนเขย่งเร่งกำลังส่งอาวุธ ด้วยเหตุว่าดินอีสานนั้นแห้งร้อน การเขย่งเท้าจึงเหมาะกับเคลื่อนที่เปลี่ยนทางย่างย่ำ มวยลพบุรีมีดีที่หมัดตรงและชั้นเชิงชาญฉลาด จดมวยหงายหมัดซ่อนการเคลื่อนไหว

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

ปัญหาคือบุคลากรปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ ‘รู้ลึก’ ในมวยไทยท้องถิ่นแต่ละสายแท้เช่น มวยโคราช มวยลพบุรี มวยไชยา และมวยท่าเสา นั้นกลับหาได้ยากยิ่ง จึงมีบุคลากรบางกลุ่มคิดแก้ปัญหานี้ โดยคิดว่าควรนำมวยแต่ละสายมาผสมผสานเป็นมวยเดียวกัน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน และคิดว่าเป็นการพัฒนา (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ขณะที่บางกลุ่มอาจเห็นโอกาสทางธุรกิจ คิดผลิตมวย ‘โบราณ’ แบบฉาบฉวยคือ ‘ฉวย’ เอาท่าทางของมวยท้องถิ่น แล้วมา ‘ฉาบ’ หรือ ย้อมแมวให้ดูขลังเพื่อรีบขายให้ทันกระแส ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือเพราะสาเหตุหลักๆ คือ

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

พระเจ้าตานั่งแท่น

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

พระเจ้าตานั่งแท่น สาธิตโดยคุณครูทอง เชื้อไชยา (ทองหล่อ ยาและ)
และ ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล จากสารานุกรมไทย เล่มที่ 22 ตอนที่ 432 หน้าที่ 14216 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

ใช้จินตนาการผิดเพี้ยน เกิดการบิดเบือนในการรวบรวมไม้มวยโดยดัดแปลงมาจากตำรามวยไทยเล่มหลักต่างๆ เช่น เล่มของ ยศ เรืองสา เล่มของ น.วงษ์ธนู แล้วตีความเอง เรียกว่ามวยโบราณ หรือประดิษฐ์ท่าใหม่โดยคลาดเคลื่อน เช่น จากท่ามวยดั้งเดิมชื่อว่า ‘พระเจ้าตานั่งแท่น’ บัญญัติขึ้นโดยครูทอง เชื้อไชยา (พระเจ้าตา คืออีกคำที่ลูกศิษย์ใช้เรียกฤๅษี) ท่านี้ถูกลอกเลียน แถมเรียกเพี้ยนไปเป็น ‘พระเจ้าตากนั่งแท่น’ โดยอ้างว่าเป็นท่าที่พระเจ้าตาก หรือพระเจ้าตากสินมหาราชทรงนั่งแท่น ซึ่งหากพระมหากษัตริย์จะประทับจริงแล้ว ย่อมประทับบนบัลลังก์ ไม่ใช่แท่น จึงนับเป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์และหลักวิชาอย่างร้ายแรง

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

ไต่เขาพระสุเมรุ

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

ไต่เขาพระสุเมรุ (หนุมานเหยียบลงกา-ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย) สาธิตโดยคุณครูทอง เชื้อไชยา (ทองหล่อ ยาและ)
และ ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล จากสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสภา เล่มที่ 22 ตอนที่ 432 หน้า 14214 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

อีกตัวอย่างที่น่าวิตกคือ ไม้มวยชั้นสูงบางท่าจะมีเคล็ดวิชา ความลับ ต้องใช้เวลาฝึกฝนจริง จึงจะเข้าใจและทำได้ แต่เมื่อมีใครที่ไม่ได้ ‘ร่ำเรียน’ แต่ ‘ลอกเลียน’ ผลิตงานออกมาแบบมักง่าย เช่น การไม่รู้เคล็ดวิชา อาศัยจังหวะยืมแรงจากการเตะของคู่ต่อสู้ เพื่อไต่เท้าขึ้นตีศอก ในท่า ‘ไต่เขาพระสุเมรุ’ (หนุมานเหยียบลงกา) เลยเกิดเป็นลักษณะที่ผู้สาธิตนั้น ‘สมยอม’ ยืนย่อเข่าให้คู่ชกเหยียบขึ้นปีนป่าย ซ้ำช่วยจับขาของคู่ต่อสู้ไว้ให้เขาถองได้สบายไม่ร่วงหล่น แถมเรียกชื่อใหม่ว่าท่า ‘ฤๅษีบดยา’ จึงเป็นท่าสาธิตที่ดูเขลาเบาปัญญา เป็นเพียงการแสดงหลอกตา ผิดหลักวิชาไม่น่าเชื่อถือ ดูถูกภูมิปัญญาผู้ชมมากกว่าเป็นศิลปะในการต่อสู้ที่ใช้งานได้จริง

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

มาตรฐานที่ไร้ราก ด้วยความที่ไม่ศึกษา ใส่ใจรากฐานความเป็นมา สภาวะแวดล้อม สภาพทางธรรมชาติ อันเป็นที่มาของอัตลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดความพยายามหลอมรวมมวยไทยอย่างไร้ความประณีต โดยอ้างว่าเป็นมวยไทยเหมือนกันไม่ควรแบ่งแยก มวยที่สังเคราะห์ขึ้นโดยความไม่เข้ากัน จึงไม่แตกต่างกับการนำแกงส้ม เทผสมกับต้มยำ แล้วใส่เครื่องพะโล้ เป็นการทำลายรสชาติให้แปร่งปร่า ทิ้งรากอารยธรรมและหากนำสืบค้นประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา จะกลายเป็นว่ามวยไทยได้รับการบัญญัติมาตรฐานเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ อาจจะเข้าทางเพื่อนบ้านช่างเคลมได้ เป็นการสร้างข้อจำกัดในการอ้างสิทธิ์และทำลายแต้มต่อของเราเอง

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

มุมมองของการแก้ปัญหา สองประเด็นที่เป็นไปได้ในความเห็นของผู้เขียนคือ

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

แนวทางการอนุรักษ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ควรเชิญปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้รู้จริงที่สืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิม เพิ่มเติมจากงานวิจัยทางการศึกษาจากเอกสารที่ส่งต่อกันมา เน้นความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของมวยแต่ละสายให้ชัดเจน ไม่ปนกันดังที่ปรากฏในปัจจุบันซึ่งแยกแยะไม่ออกว่าเป็นมวยสายไหน เพราะทั้งท่วงท่าและการแต่งกายเหมือนกันไปหมด

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

แนวทางการพัฒนา หากจะทำเป็นมวยไทยมาตรฐานหรือมวยไทยร่วมสมัย อาจทำได้โดยการรวบรวมและเรียบเรียงไม้มวยไทย แล้วเรียกชื่อให้ถูกต้องตามแบบของมวยไทยแต่ละสาย เช่น เตะแบบโคราช เตะแบบไชยา หรือศอกแบบท่าเสา ไม่ผสมผสานกันแล้วบัญญัติท่าขึ้นใหม่ ซึ่งผู้ฝึกไม่สามารถสืบค้นย้อนกลับไปยังต้นกำเนิดได้ เปรียบดังการรักษาเมล็ดพันธุ์กาแฟดั้งเดิมแบบ Single Origin ไว้ จะนำไปผสมผสานกับเมล็ดสายพันธุ์ใดตามรสนิยมแบบ Blended สูตรใดก็ทำได้ แต่ถ้าไปตัดแต่งพันธุกรรมจนกลายพันธุ์ การรังสรรค์สูตรใหม่ๆ ก็ขาดทรัพยากรและสูญพันธุ์ในที่สุด

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่จริงจังในเรื่องนี้ รอจนผู้รู้จริงล้มหายตายจากไป ไม่ช้าศิลปะมวยไทยแท้แต่ดั้งเดิมจะเลือนหายไปเป็นเพียงการละเล่น เป็นการแสดงที่ฉาบฉวยขาดความน่าเชื่อถือ จนเสื่อมสลายไปอย่างน่าเสียดาย กลายเป็นสมบัติที่ชนชาติอื่นกล่าวอ้างไปได้ในที่สุด

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

Heritage Matters โดยสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นคอลัมน์บทความแสดงความคิดเห็นเพื่อรณรงค์การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และธรรมชาติ ของไทยและประเทศใกล้เคียง แต่ละฉบับมีผู้เขียนที่แตกต่างกัน ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นของผู้เขียนบทความนั้น

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

 

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

ปรับปรุงต้นฉบับ: ศุทธดา อชิรกัมพู

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก

เกี่ยวกับผู้เขียน: สมศักดิ์ วิวัฒน์ไพศาล ศิษย์สายตรงของครูบัว (รท.บัว นิลอาชา) ประธานกลุ่มสืบสานมวยไทยโคราชสายครูบัว วัดอิ่ม

มวยไทยพัฒนาอย่างไรไม่ให้สูญราก